วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ดาวทะเล

ปลาดาวทะเล

    สวัสดีค่ะ วันนี้ดิฉันจะมาเเนะนำให้ทุกคนรู้จักกับปลาดาวทะเลกันค่ะ ซึ่งมีความสวยงามมากในท้องทะเล เราไปดูกันเลยค่ะ


ประวัติปลาดาว

    ดาวทะเล หรือปลาดาว (อังกฤษStarfish, Seastar) เป็นสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง ที่อยู่ในชั้น Asteroidea ลักษณะทั่วไป มีลำตัวแยกเป็นห้าแฉกคล้ายรูปดาวเรียกว่า แขน ส่วนกลาง มีลักษณะเป็นจานกลม ด้านหลังมีตุ่มหินปูน ขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วไป มีปากอยู่ด้านล่างบริเวณ จุดกึ่งกลางของ ลำตัว ใต้แขนแต่ละข้างมีหนวดสั้น ๆ เรียงตามส่วนยาว ของแขนเป็นคู่ ๆ มีลักษณะเป็นกล้ามเนื้อที่เหนียวและแข็งแรงเรียกว่าโปเดียใช้สำหรับยึดเกาะกับเคลื่อนที่มีสีต่างๆออกไปทั้งขาวชมพูแดงดำม่วง หรือน้ำเงิน เป็นต้น พบอยู่ตามชายฝั่งทะเล โขดหิน และบางส่วนอาจพบไปถึงพื้นทะเลลึก กินหอยสองฝา โดยเฉพาะ หอยนางรมกุ้งปูหนอน และ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ เช่น ฟองน้ำหรือปะกาชื่อที่เรียก ดาวทะเล

ลักษณะดาวทะเล
ชื่ออื่นๆ ปลาดาว
หมวดหมู่ทรัพยากร ยังไม่ได้ระบุ
ลักษณะ ดาวทะเล เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ใน Phylum Echinodermata … echino แปลว่าหนาม derm แปลว่าผิวหนัง ผู้มีเปลือกแข็งห่อหุ้ม มีผิวหนามได้
แก่ ดาวทะเลต่างๆ ปลิงทะเล เม่นทะเล อีแปะทะเล ปลาดาวไม่มีโครงสร้างเพื่อใช้ในการเคลื่อนที่ แต่เคลื่อนที่โดยใช้เท้าดูด (tube feet) และแรงดันของน้ำ การเคลื่อนที่ของดาวทะเลเกิดจากหดตัวของ Ampulla แล้วดันให้ tube feet ยื่นออกมายึดกับพื้น (เหมือนเป็น sucker) และเมื่อ Ampulla คลายตัว เจ้า tube feet นี้ก็จะหดตัว แล้วดันน้ำกลับไปเข้าไปใน Ampulla การยืดหดตัวของ tube feet หลายๆ ครั้งติดๆ กัน ทำให้เกิดแรงดัน ทำให้ดาวทะเลเคลื่อนที่ไปได้


     ประโยชน์ ดาวทะเลมีหลายชนิด เช่น ดาวทะเลห้าแฉก ดาวหมอนปักเข็ม ดาวมงกุฎหนาม สัตว์กลุ่มนี้ส่วนใหญ่ดำรงชีพโดยการกินสิ่งมีชีวิตบางชนิดและอินทรียสารหน้าดินเป็นอาหาร เพราะฉะนั้นปากจะอยู่ด้านล่าง สัมผัสกับพื้นดินทรายตลอดเวลา ส่วนช่องขับถ่ายนั้นจะอยู่ทางด้านหลังของลำตัว สัตว์ในกลุ่มนี้ที่น่าสนใจ ได้แก่ ดาวมงกุฎหนาม เป็นสัตว์ที่มีอันตรายต่อแนวปะการังเป็นอันมาก เนื่องจากมันกินปะการังเป็นอาหาร ในต่างประเทศ เช่น ออสเตรเลีย บริเวณ The Great Barrier Reef จะมีการควบคุมปริมาณของดาวมงกุฎหนาม เพราะว่าถ้าหากมีดาวมงกุฎหนามเพิ่มขึ้นมากแล้ว จะทำให้เกิดอันตรายต่อแนวปะการัง วิธีการควบคุม หรือกำจัดดาวมงกุฎหนามนี้เราอาจใช้วิธีการควบคุมทางชีวภาพ (Biological Control) โดยใช้หอยสังข์แตรมาเป็นตัวควบคุมปริมาณ เพราะหอยชนิดนี้กินดาวมงกุฎหนามเป็นอาหาร จึงเป็นการลดจำนวนดาวมงกุฎหนามได้อย่างดียิ่ง
แหล่งที่พบ ประเทศออสเตรเลีย
ตำบล บริเวณ The Great Barrier Reef
อำเภอ เมืองชลบุรี
จังหวัด ชลบุรี
     ดาวทะเลเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง อยู่ในไฟลัม Echinodermata เป็นกลุ่มเดียวกับเม่นทะเล ปลิงทะเล อีแปะทะเล ดาวเปราะและดาวขนนก ซึ่งอาศัยอยู่ในทะเลทั้งสิ้น มีลักษณะเด่นคือ มีหนามแหลมปกคลุมทั่วตัว ดาวทะเลมีลำตัวแบน ไม่มีหัว-ท้าย แต่ประกอบด้วยส่วนกลางลำตัวที่เป็นทรงกลมเหมือนเหรียญ(central disc) และส่วนแขนที่ยื่นออกจากส่วนลำตัวในแนวรัศมีและเป็นสมมาตร โดยส่วนมากจะมี 5 แขน แต่บางชนิดมีมากกว่านี้ เช่น ดาวดวงอาทิตย์ มี 7-14 แขน ดาวมงกุฎหนาม มี 16 แขน เป็นต้น ขนาดของดาวทะเลต่างกันมาก อาจยาวเพียง 1 เซนติเมตร หรืออาจมีขนาดใหญ่มากยาวถึง 1 เมตร สีอาจเป็นสีคล้ำหรือสีสดทุกๆ สี บางชนิดมี 2 สี ผิวตัวของดาวทะเลอาจขรุขระด้วยหนามหรืออาจเรียบ ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของหนามบนผิวตัว ที่ขอบของแขนมักมีหนามมาเรียงตัวอยู่มาก ปากของดาวทะเลอยู่ด้านล่างกึ่งกลางลำตัว จากขอบปากจะเป็นร่องยาวออกไปตามแขนจนสุดปลายแขน ภายในร่องนี้จะมีเท้าท่อ(tube feet) หรือโปเดีย(podia) เรียงตัวเป็นแถวอยู่จำนวนมาก ทำหน้าที่ยึดเกาะเมื่อมีการเคลื่อนที่
ดาวทะเลมีมีอยู่ประมาณ 1,800 ชนิด แพร่กระจายอยู่ในมหาสมุทรทั่วโลก แต่จะมีความหลากหลายชนิดในแถบทะเลเขตร้อนอย่างมหาสมุทรอินโด-แปซิฟิก โดยส่วนใหญ่ดำรงชีวิตอยู่ตามหาดหิน หาดทรายปนโคลน แนวปะการัง แต่ก็พบได้ตามท้องทะเลลึก บางชนิดฝังตัวอยู่ตามพื้นโคลนและทราย ดาวทะเลโดยส่วนมากเป็นนักล่า โดยจะกินสัตว์อื่นเป็นอาหาร ซึ่งได้แก่ หอยฝาเดียว หอยสองฝา ครัสเตเซียน และปลา บางชนิดกินปะการังหรือฟองน้ำ บางชนิดกินซากพืชซากสัตว์เป็นอาหาร



ที่อยู่อาศัย
  ดาวทะเลสามารถสืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ โดยมีทั้งเพศผู้และเพศเมีย การปฏิสนธิเกิดภายนอกตัว ในระยะแรกตัวอ่อนจะดำรงชีวิตแบบ zooplankton จากนั้นจะเริ่มพัฒนาตัวแล้วจมตัวลงเพื่อหาที่ยึดเกาะแล้วเจริญเป็นตัวเต็มวัย ดาวทะเลบางชนิดมีความสามารถในการงอกทดแทนสูง(regeneration) ชิ้นส่วนของร่างกาย เช่น แว่นกลางตัวชิ้นเล็กๆ จะสามารถเจริญเป็นตัวใหม่ได้ แต่ใช้เวลานานมาก อาจจะเป็นปีรัง เป็นอาหาร




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น