วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ปลากระเบน

ปลากระเบน

       สวัสดีค่ะ วันนี้ดิฉันจะพาทุกคนไปรู้จักกับปลากระเบนกันค่ะ ซึ่งพวกเขาเป็นสัตว์ทะเลที่สวย หรือหลายคนอาจรู้จักกันอยู่เเล้ว เราไปรู้จักพวกเขากันเลยค่ะ


ปลากระเบน
ปลากระเบน คือ ปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่งที่อยู่ในชั้นย่อยอีลาสโมแบรนชิไอ (Elasmobranchii) ในอันดับใหญ่ที่ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Batoidea หรือ Rajomorphii
มีประมาณ 400 ชนิด พบได้ทั้งน้ำจืดสนิท, น้ำกร่อย และทะเล มีรูปร่างแบนราบ ครีบทั้งหมดอยู่ชิดติดกับลำตัวด้านข้าง มีท่อน้ำออก 1 คู่ อยู่ด้านหลังของหัว ซึ่งทำหน้าที่ให้น้ำผ่านเข้าทางเพื่อไหลเวียนผ่านเหงือกเพื่อการหายใจ ซึ่งจะไม่ไหลเวียนผ่านปากซึ่งอยู่ด้านล่างลำตัว เหมือนปลากระดูกอ่อนหรือปลากระดูกแข็งจำพวกอื่น หากินบริเวณพื้นน้ำ ในปากไม่มีฟันแหลมคมเหมือนปลาฉลาม ดังนั้นการกินอาหารจึงค่อยเป็นค่อยไป ด้วยการเคี้ยวอย่างช้า ๆ ซึ่งอาหารส่วนมากก็ได้แก่ หอยกุ้งปู หรือปลาขนาดเล็กตามพื้นน้ำ เป็นส่วนใหญ่


ลักษณะ
แบ่งออกได้เป็น 4 อันดับ (ดูในตาราง) ซึ่งก็แบ่งออกได้เป็นหลายวงศ์, หลายสกุล ขนาดแตกต่างหลากหลายไปตามสกุลและชนิด กระจายไปตามเขตอบอุ่นทั่วโลก เช่น วงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) รูปร่างค่อนข้างกลม จะงอยปากแหลม หางยาวคล้ายแส้ มีเงี่ยงแหลมคม ที่มีพิษบริเวณโคนหาง 1-2 ชิ้น ที่เมื่อหักไปแล้วสามารถงอกใหม่ได้, วงศ์ปลากระเบนนก (Myliobatidae) มีส่วนหัวโหนก ครีบด้านข้างแยกออกจากส่วนหัวเห็นได้ชัดเจน และครีบขยายออกด้านข้างเสมือนกับปีกของนก ปลายแหลม ใช้สำหรับว่ายน้ำในลักษณะโบกโบยเหมือนนกบินในทะเล ส่วนปลากระเบนไฟฟ้า พบเฉพาะในทะเล มีขนาดเล็ก มีรูปร่างต่างไปจากปลากระเบนจำพวกอื่น ๆ ที่โคนหางไม่มีเงี่ยง และสามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อป้องกันตัวและล่าเหยื่อได้ด้วย 
ปลากระเบน เป็นปลาที่มนุษย์ผูกพันมาตั้งแต่อดีต ด้วยการใช้เนื้อในการรับประทาน สามารถนำไปปรุงเป็นอาหารต่าง ๆ เช่น ผัดเผ็ด, ผัดขี้เมา หรือผัดฉ่า เช่นเดียวกับปลาฉลามได้ ในปลากระเบนบางวงศ์ เช่น วงศ์ปลากระเบนหางสั้น (Potamotrygonidae) มีลำตัวกลมเหมือนจานข้าวหรือแผ่นซีดีจะงอยปากไม่แหลม มีส่วนหางที่สั้น มีถิ่นกำเนิดเฉพาะในแม่น้ำของทวีปอเมริกาใต้ มีสีสันและลวดลายตามลำตัวสวยงาม และสามารถแพร่ขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้ง่าย จึงนิยมเลี้ยงและเพาะขยายพันธุ์กันเป็นปลาสวยงาม
นอกจากนี้แล้ว ปลากระเบนส่วนมากจะมีเกล็ดเป็นตุ่มแข็งบริเวณกลางหลัง ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆ เช่น ผลิตเป็นเครื่องหนัง เช่น กระเป๋า ได้ นอกจากนี้แล้วยังนำไปทำเป็นเครื่องประดับเช่น แหวนเป็นต้น


การอยู่อาศัย
    แม้ว่าเราอาจจะคุ้นเคยกับการรับประทานสัตว์น้ำหลากชนิด แต่ในชีวิตประจำวันเราคงไม่มีโอกาสได้รับประทาน หรือแม้กระทั่งพบเจอสัตว์น้ำหน้าตาประหลาด และมีรูปร่างน่าเกรงขามอย่าง ปลากระเบน มากนัก แต่ด้วยกระแสการรับประทานอาหารที่ปรุงจากสายพันธุ์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เริ่มพูดถึงในกันสังคม อาจทำให้หลายคนเริ่มเกิดความสงสัยว่าในทุกวันนี้ปลากระเบนมีสถานะเช่นไรในท้องทะเล
    ทีมนักวิจัยเก็บข้อมูลร่างกายของปลากระเบนราหูน้ำจืด (Urogymnus polylepis) ที่ติดเบ็ดของนักตกปลาในแม่น้ำแม่กลอง บริเวณอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ด้วยการที่ประชากรของปลากระเบนชนิดนี้ในประเทศไทยถูกจัดสถานะว่ามีความเสี่ยงขั้นวิกฤตต่อการสูญพันธุ์ (Critically Endangered) โดย IUCN ด้วยลักษณะทางชีววิทยาที่ออกลูกจำนวนน้อยและเจริญเติบโตช้ามากประกอบกับภัยคุกคามจากการที่แหล่งที่อยู่อาศัยเสื่อมโทรม นักวิจัยจึงพยายามศึกษาปลากระเบนเหล่านี้เพื่อใช้ในการอนุรักษ์ประชากรของพวกมันให้คงอยู่ในสายน้ำของเมืองไทย
การจัดประเภท
      ปลากระเบนจัดเป็นปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่งที่มีบรรพบุรุษร่วมกันกับปลาฉลาม สามารถพบได้ทั่วไปทั้งในน้ำจืด น้ำกร่อย และทะเล ส่วนใหญ่จะหากินบริเวณพื้นท้องน้ำ และแพร่กระจายทั่วไปตามเขตอุบอุ่นและเขตร้อนทั่วโลก ลักษณะที่โดดเด่นของกระเบนคือการมีรูปร่างลำตัวแบนราบ อาจมีปุ่มกระดูกหรือหนามเล็ก ๆ ในบางบริเวณ และมีครีบอกที่แผ่ขยายคลุมส่วนหัวและบางส่วนของลำตัว หรืออาจจะคลุมลำตัวทั้งหมด บางชนิดอาจมีพิษที่เงี่ยง ขยายพันธุ์โดยออกลูกเป็นตัวหรือเป็นไข่แล้วแต่สายพันธุ์


ปลากระเบนพบเจอได้ที่ไหนในประเทศไทย
      ปลากระเบนที่พบทั่วโลกมีมากกว่า 600 ชนิด สำหรับในประเทศไทย ได้มีการสำรวจเมื่อปี 2017 พบปลากระเบน 84 ชนิดทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม ในแหล่งน้ำจืด ผู้คนส่วนใหญ่จะรู้จัก กระเบนเจ้าพระยา หรือ กระเบนราหู มากกว่าปลากระเบนน้ำจืดชนิดอื่น เนื่องจากเป็นปลากระเบนน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แต่ปลากระเบนน้ำจืดในประเทศไทยหลัก ๆ นั้นมีอยู่ 7 ชนิด ได้แก่ ปลากระเบนธง ปลากระเบนลาว ปลากระเบนเจ้าพระยา ปลากระเบนบัว ปลากระเบนแม่กลอง ปลากระเบนลาย และปลากระเบนขาว กระจายตัวทั่วไปตามแหล่งน้ำสายหลักของประเทศ เช่น แม่น้ำโขง แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำทั่วไปในภาคกลางและภาคใต้ สำหรับในส่วนของปลากระเบนน้ำเค็มนั้นมีหลากหลายชนิด แต่ชนิดที่นักดำน้ำรู้จักกันดีคือปลากระเบนราหูน้ำเค็ม ปลากระเบนนก ปลากระเบนจุดฟ้า สามารถพบได้ทั้งในทะเลอันดามันและทะเลชายฝั่งอ่าวไทย

ที่มา: ปลากระเบน

กวางผา

กวางผา

   สวัสดีค่ะ วันนี้ดิฉันจะพาทุกคนไปรู้จักกับกวางผากันค่ะ พวกเขาอาศัยอยู่เทือกเขาหิมาลัย ประเทศเนปาล หรือหลายคนอาจรู้จักกันเป็นอย่างดี เราไปรู้จักกับพวกเขากันเลยค่ะ


กวางผา
กวางผา (อังกฤษGorals) เป็นสกุลของสัตว์กีบคู่จำพวกแอนทีโลปสกุลหนึ่ง ในวงศ์ Bovidae ใช้ชื่อสกุลว่า Naemorhedus

การค้นพบ
กวางผาถูกค้นพบและศึกษาครั้งแรกในทางสัตววิทยา เมื่อปี ค.ศ. 1825 ในแถบเทือกเขาหิมาลัย ประเทศเนปาล มีลักษณะคล้ายแอนทีโลปที่พบในทวีปแอฟริกา จึงได้รับการจำแนกและตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Antilope goral ต่อมาพบว่ามีลักษณะและนิสัยแตกต่างกันเด่นชัด จึงจำแนกออกเป็นสกุลใหม่ในปี ค.ศ. 1827 โดย ชาลส์ แฮมิลตัน สมิท นักธรรมชาติวิทยาและทหารชาวอังกฤษ คือ Naemorhedus
ชื่อสามัญของกวางผาในภาษาอังกฤษคือ "โกราล" (Goral) มาจากภาษาฮินดี (गोरल) ขณะที่ชื่อวิทยาศาสตร์ Naemorhedus คำว่า Naemor มาจากคำว่า "Nemoris" ในภาษาลาติน แปลว่า "ป่า" และ haedus มาจากภาษาลาติน แปลว่า "แพะหนุ่ม" หรือ"แพะตัวผู้"



ลักษณะ
กวางผามีรูปร่างคล้ายแพะหรือเลียงผา (Capricornis spp.) ที่มีขนาดเล็ก ซึ่งครั้งหนึ่งเลียงผาเองก็เคยใช้ชื่อสกุลเดียวกับกวางผาด้วย มีเขาสั้น ๆ ทั้งตัวผู้และตัวเมีย เป็นกรวยปลายเรียวแหลมคล้ายกันทั้ง 2 ข้าง ไม่มีการแตกกิ่งเขา เปลือกนอกเป็นปลอกเขาแข็งสวมทับบนแกนเขา ซึ่งเป็นแกนกระดูกที่งอกติดกับกะโหลกศีรษะชิ้นหน้าผาก ตัวเขาเจริญขึ้นตามอายุ และมีชุดเดียวตลอดชีวิต ไม่มีการผลัดเขาเหมือนกวาง
กวางผาไม่มีเคราใต้คางเหมือนแพะรวมทั้งมีขนาดเล็กกว่าเลียงผาเกือบเท่าตัว ขนมีสีอ่อนไม่เข้มเหมือนเลียงผา ขนชั้นนอกเป็นเส้นยาวหยาบ มีขนชั้นในเป็นเส้นละเอียดนุ่ม ซึ่งไม่พบในเลียงผา ระหว่างโคนเขาทั้ง 2 ข้าง ไปถึงหลังใบหูมีกระจุกขนเป็นยอดแหลมสีน้ำตาลเข้มชัดเจน ถัดต่อมาบริเวณหลังและสะโพกมีแผงขนยาวคล้ายอานม้าบาง ๆ สีเทา กลางหลังมีแถบขนสีดำพาดยาวตามแนวสันหลังไปจดโคนหาง หางสั้นเป็นพวงสีเข้มดำ ขนใต้คางและแผ่นอกสีน้ำตาลอ่อน เห็นเป็นแถบลายจาง ๆ บริเวณแผ่นอก สีขนช่วงโคนขาเข้มกว่าช่วงปลายขาลงไปถึงกีบเท้า เขาสั้นสีดำเป็นรูปกรวยแหลม ปลายเขาเรียวแหลมโค้งไปข้างหลังเล็กน้อย โคนเขาใหญ่มีรอยหยักเป็นวง ๆ รอบเขาชัดเจน โดยทั่วไปแล้วสีขนของกวางผาตัวเมียจะอ่อนกว่าตัวผู้ เขาสั้นเล็กและมีรอยหยักรอบโคนเขาไม่ลึกชัดเจนอย่างเขาของตัวผู้ 
ทั้งหมดเป็นสัตว์ที่อาศัยและหากินบนที่ราบสูงที่เป็นภูเขาหรือหน้าผาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000–4,000 เมตร พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่เทือกเขาหิมาลัยจรดจนถึงเอเชียตะวันออก มีประชากรบางส่วนลงมาในเอเชียอาคเนย์ด้วย เป็นสัตว์ที่มีกีบเท้าที่แข็งแรงรับน้ำหนักได้ จึงเหมาะกับการกระโดดไปมาและไต่ไปตามหน้าผา เป็นสัตว์ที่มีการระแวดระวังภัยสูง ใช้ประสาทการมองเห็นมากกว่าการดมกลิ่น อีกทั้งยังเป็นสัตว์ที่ว่ายน้ำได้ และว่ายน้ำได้เก่งอีกด้วยซ้ำ เคยมีรายงานว่าสามารถว่ายน้ำข้ามไปมาระหว่างเกาะต่าง ๆ ได้


พฤติกรรม
    กวางผาไม่มีเคราใต้คางเหมือนแพะรวมทั้งมีขนาดเล็กกว่าเลียงผาเกือบเท่าตัว ขนมีสีอ่อนไม่เข้มเหมือนเลียงผา ขนชั้นนอกเป็นเส้นยาวหยาบ มีขนชั้นในเป็นเส้นละเอียดนุ่ม ซึ่งไม่พบในเลียงผา ระหว่างโคนเขาทั้ง 2 ข้าง ไปถึงหลังใบหูมีกระจุกขนเป็นยอดแหลมสีน้ำตาลเข้มชัดเจน ถัดต่อมาบริเวณหลังและสะโพกมีแผงขนยาวคล้ายอานม้าบาง ๆ สีเทา กลางหลังมีแถบขนสีดำพาดยาวตามแนวสันหลังไปจดโคนหาง หางสั้นเป็นพวงสีเข้มดำ ขนใต้คางและแผ่นอกสีน้ำตาลอ่อน เห็นเป็นแถบลายจาง ๆ บริเวณแผ่นอก สีขนช่วงโคนขาเข้มกว่าช่วงปลายขาลงไปถึงกีบเท้า เขาสั้นสีดำเป็นรูปกรวยแหลม ปลายเขาเรียวแหลมโค้งไปข้างหลังเล็กน้อย โคนเขาใหญ่มีรอยหยักเป็นวง ๆ รอบเขาชัดเจน โดยทั่วไปแล้วสีขนของกวางผาตัวเมียจะอ่อนกว่าตัวผู้ เขาสั้นเล็กและมีรอยหยักรอบโคนเขาไม่ลึกชัดเจนอย่างเขาของตัวผู้



ที่มา: กวางผา

นกกาบบัว

นกกาบบัว

สวัสดีค่ะ วันนี้ดิฉันจะพาทุกคนไปรู้จักกับนกกาบบัวกันค่ะ นกกาบบัวอยู่ในวงศ์นกกระสา หรือหลายคนอาจรู้จักกันอยู่เเล้ว ไปรู้จักพวกเขากันเลยค่ะ



นกกาบบัว / Painted Stork / Mycteria leucocephala

    นกกาบบัว อยู่ในวงศ์นกกระสา Family Ciconliidae สกุลนกกาบบัว Genus Mycteria ชื่อสกุลมาจาก mukter เป็นรากศัพท์ภาษากรีก แปลว่าจมูกหรือลำตัว ( mukterizo ) แปลว่ายกจมูกขึ้น และ ius เป็นรากศัพท์ภาษาละติน แปลว่าคล้ายหรือต่อเนื่อง ความหมายคือ " ปากยาวใหญ่ " นกในสกุลนี้มีปากยาว แบนข้างเล็กน้อย โคนปากกว้าง สันขากรรไกรบนมนและโค้ง ขากรรไกรล่างเว้า รูจมูกเป็นรูปไข่ ตั้งอยู่โคนขากรรไกร หัวและใต้คอไม่มีขนคลุม แต่ท้ายทอยและคอมีขนคลุม ขายาว น่องทางครึ่งบนมีขนคลุม นิ้วยาว , ขนคลุมโตน ขนหางด้านล่างยาวมาก และงอกยาวพ้นขนหาง ทั่วโลกมีนกในสกุลนี้ 4 ชนิด ประเทศไทยพบ 2 ชนิด คือ นกกระสาปากเหลือง ( Milky Stork ) และ นกกาบบัว ( Painted Stork )



   นกกาบบัว ( Painted Stork ) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mycteria leucocephala ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษากรีก คือ leuc หรือ leukos แปลว่าสีขาว และ cephal หรือ kephalos แปลว่าหัว ความหมายคือ " นกที่มีปากยาวใหญ่ หัวมีสีขาว " พบและจำแนกชนิดๆ ได้ครั้งแรกที่ประเทศศรีลังกา ไม่มีการแบ่งเป็น

ชนิดย่อย
ภาพชุดนี้ถ่ายมาจาก สวนสัตว์เปิดเขาเขียว บริเวณต้นไม้หน้ากรงนกใหญ่ 

รูปร่างลักษณะ 
    นกกาบบัว เป็นนกขนาดใหญ่มาก ความยาวจากปลายปากถึงปลายหาง 100 - 102 ซม. ปากยาวตอนปลายปากมักมนและโค้งลงเล็กน้อย หัวเล็ก คอค่อนข้างยาว ปีกกว้างและยาว หางสั้น ขายาว นกทั้งสองเพศสีสันคล้ายกัน นกที่เต็มวัย ปากสีเหลือง ลำตัวสีขาว บริเวณปีกมีแถบสีชาวสลับดำ อก และ ปลายปีกมีแถบสีดำ ขนโคนปีก ขนคลุมขนปีกแถวนอก และ ขนบริเวณตะโพก เป็นสีชมพู ขอบขนแต่ละเส้นเป็นสีขาว ขนชมพูอมขาวนี้ ยาว ออกไปจนถึงตะโพก และ หาง มองดูเผินๆ คล้ายกับ ว่าใครเอาสี ชมพูสดๆ มาแต่งแต้ม ไว้ เป็นที่มาของชื่อสามัญของนกชนิดนี้ ว่า Painted Stork ปากของนกกาบบัว สีเหลือง แกม ส้ม แต่ ตอนโคนปากสีเขียวปนเทา ม่านตาสีเหลือง บริเวณหัว เป็น หนังเปลือยเปล่า สีเหลืองแกมส้ม เช่นเดียวกับปาก ขา และ นิ้วเท้า สีน้ำตาลแกมแดงอ่อนๆ ขาและนิ้วเท้าสีน้ำตาลหรือสีแดง ในฤดูผสมพันธุ์ ผิวหนังบริเวณใบหน้าเป็นสีแดง 




แหล่งอาศัยหากิน 

    ปกติอาศัยหากินเป็นฝูงตามแหล่งน้ำ เช่น บึง หนองน้ำ ขนาดใหญ่ ทุ่งนา หรือชายทะเล ที่เป็นโคลนเลน ห่างไกลจากบ้านคน มันหาอาหาร โดยเดินลุยไปตามแหล่งน้ำ ที่ระดับน้ำไม่ลึกมากนัก อ้าปากเกือบตลอดเวลา ตาคอยจ้องหาเหยื่อในน้ำ เมื่อพบจะใช้ปากงับ แล้วคาบเอาไว้ สักพักหนึ่งจึงเงยหัวขึ้นเล็กน้อย อ้าปากกว้างขึ้นแล้วกลืนเหยื่อลงไปทั้งตัว บางครั้งมันจะ เดิน ไปตามทุ่งหญ้าเพื่อจิกแมลง ตัวหนอน เมื่ออิ่มแล้วมันมักยืนขาเดียว พักผ่อน ใช้ปากไซ้ขน หรือ กางปีกผึ่งแดด

   อาหาร นกกาบบัว กินสัตว์น้ำเป็นส่วนใหญ่ชอบเดินหาอาหารพวกปลา กบ เขียด ลูกปู ปลา กุ้ง หอย นอกจากนี้ยังกิน แมลง และ ตัวอ่อนของแมลง 

ฤดูผสมพันธุ์ทำรังวางไข่ 
    ตามปกติเรามักไม่ค่อยพบเห็นนกกาบบัวครั้งละหลายๆตัว นอกจากใน ฤดูผสมพันธุ์ ซึ่ง นกจะพากันมาทำรังวางไข่ บนต้นไม้ต้นเดียวกัน หรือ ต้นไม้ ใกล้ๆกัน นกกาบบัวผสมพันธุ์ ในช่วงฤดูหนาวต่อฤดูร้อน อยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน เป็นนกผัวเดียวเมียเดียว ตลอดฤดูผสมพันธุ์ ซึ่งอาจ ตลอดชีวิตก็ได้ มักทำรังรวมกันเป็นกลุ่ม บนยอดไม้สูงใหญ่ที่ขึ้นใกล้แหล่งน้ำหรืออยู่ในแหล่งน้ำ เช่น ต้นยางนา ต้นเทียะ ต้นกระทุ่มน้ำ เป็นต้น ก่อสร้างรัง มันจะจับคู่และเกี้ยวพาราสีกันด้วยการหันหน้าเข้าหากัน ผงกหัวพร้อมกับ ขยับขากกรรไกรให้กระทบกันจนเกิดเสียงดัง บางครั้งก็ใช้ปากกระทบกัน จากนั้นมันจะผสมพันธุ์กัน แล้วนกทั้งสองเพศจะช่วยกันหาวัสดุ เลือกสถานที่ และสร้างรัง

    รังเป็นแบบง่ายๆ สร้างแบบหยาบๆ โดยการนำกิ่งไม้ทั้งสดและแห้งจากต้นที่สร้างรังและจากต้นอื่นมาวางซ้อนกันบนยอดไม้ กิ่งไม้ใช้ทั้งกิ่งสด และกิ่งแห้ง แล้วทำแอ่งตรงกลางเพื่อรองรับไข่ โดยทั่วไปรังมีเส้นผ่าศูนย์กลางขอบนอก ประมาณ 50 - 60 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางขอบใน 35 -40 ซม. แอ่งตรงกลางลึก 10 -15 ซม. ปกติใช้เวลาสร้างรังราว 2 - 3 วัน มันมักเสริมรังเสมอ เมื่อวัสดุเก่าผุพัง หรือ เมื่อมีจำนวนไข่เพิ่มขึ้น ระหว่างสร้างรัง มันจะผสมพันธุ์เรื่อยๆ เมื่ออออกไข่ครบจำนวนแล้ว จึงหยุด

    ไข่มีด้านหนึ่งป้าน หรือ ใหญ่และเรียวไปยังอีกด้านหนึ่ง เปลือกไข่สีออกเขียว หรือสีขาวด้านๆ ไม่เป็นมันเงา ไม่มีจุดหรือลวดลายใดๆ แต่บางครั้งอาจมีขีดประ หรือ จุดเล็กๆ สีน้ำตาล กระจายเ ล็กน้อย ทั่วฟอง ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 46.5 -x 70.8 มม. และมีน้ำหนักเฉลี่ย 75.55 กรัม วางไข่ครอกละ 2 - 6 ฟอง โดยพบ 4 ฟองบ่อยที่สุด ทั้งสองเพศ ผลัดกันฟักไข่ ตั้งแต่ออกไข่ ฟองแรก ใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 30 -31 วัน วันที่แสงแดดแรงจัด กนที่ฟักไข่จะยืนขึ้น เหนือรัง และ กางปีกทั้ง 2 ข้าง ออกเต็มที่หรือ งอที่หัวปีกเล็กน้อย เพื่อระบาย ความร้อนออกจากตัว และเพื่อบังไข่หรือ ลูกนก มิให้ถูกแดดมากเกินไป เมื่อ นกตัวที่มิได้กกไข่กลับมาถึงรัง นกตัวที่กกไข่ จะบินออกไป ทักทายด้วยการ เอาปากไปแตะ กัน ทั้งนกตัวผู้และนกตัวเมีย จะหวงไข่ และ รังของมันมาก จะไม่ยอมทิ้งรังอยู่ตามลำพังเพราะบางครั้ง อาจมีสัตว์ผู้ล่า จำพวก กระรอก เหยี่ยว อีกา ตะกวด นกเอี้ยง นกตะขาบทุ่ง ฯลฯ มาขโมยไข่และลูกนกไปกินได้ 

     ลุกนกแรกเกิดมีผิวหนังเป็นสีชมพู มีขนอุยสีขาวอมเทาปกคลุมลำตัวบางส่วนโดยเฉพาะลำตัวด้านบน หัวและปากสีดำ ขาและนิ้วเท้ายังไม่แข็งแรง พอจะยืนหรือเดินได้ เนื่องจากพ่อแม่นก กกไข่ตั้งแต่ออกไข่ฟองแรก ดังนั้นลูกนกจะฟัก ออกจากไข่ไม่พร้อมกัน ไข่ที่ฟักก่อนจะออกเป็นตัวก่อน ดังนั้นในรังหนึ่งจะมีลูกนกขนาดต่างกันในตอนแรกๆ แต่นานวันเข้าลูกนกจะโตทันกัน และ มีขนาดตัวไร่เรี่ยกัน ในช่วงนี้พ่อแม่ต้องช่วยกันกก ป้องกันแสงแดด ป้องกันภัย และผลัดกันหาอาหารมาป้อน โดยการสำรอกอาหารใส่ปากลูกนก ซึ่งอ้าปากรอรับอยู่ อาหารที่นำมาป้อนลูกนก ส่วนใหญ่คือปลา กบ เขียด แต่เมื่อลูกนกโตพอประมาณแล้ว พ่อแม่จะสำรอกอาหารไว้ที่พื้นรัง ให้ลูกนกจิกกินเอง พ่อแม่จะเลี้ยงดูลูกนก จนกระทั่งลูก แข็งแรง และบินได้ดี ซึงใช้เวลาประมาณ 50 - 60 วัน จากนั้นจะทิ้งรังไป 




การแพร่กระจายพันธุ์ 
    นกกาบบัวมีแหล่งทำรังวางไข่ขนาดใหญ่ อยู่ทางตอนใต้ของปากีสถาน , อินเดีย ( ยกเว้นภาค ตะวันออก เฉียงเหนือ ) , ภาคใต้ของเนปาล , ศรีลังกา , บังคลาเทศ , อาจพบทาง ตอนใต้ของจีนด้วย , ประชากรในฤดูนอกผสมพันธุ์บางส่วนอพยพไปหากินที่ ส่วนอื่นของปากีสถาน , ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย , บังคลาเทศ โดยสมทบกับนกประจำถิ่น ในประเทศนั้นๆ หรือหากินในส่วนอื่นของประเทศที่ปกติไม่พบนกกาบบัวชนิดที่อยู่ประจำถิ่นมาก่อน

    สำหรับเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นนกประจำถิ่นที่พบน้อย และ บางส่วนอพยพย้ายถิ่นหากินตามแหล่งอาหารภายในประเทศด้วย โดยพบในไทย , กัมพูชา , ภาคกลางและภาคใต้ของอันนัม , เขตสัตว์ภูมิสาสตร์โคชินไชน่า , ภาคกลางของเมียนม่าห์ , เป็นนกอพยพนอกฤดูผสมพันธุ์ ทางภาคตะวันตก เฉียงใต้ ภาคกลาง และ ภาคใต้ ของเมียนม่าห์ , เทนเนอซาลิม , ภาคตะวันออกของตังเกี่ย 


ที่มา: นกกาบบัว


เจมส์บอค

เจมส์บอค

    สวัสดีค่ะ วันนี้ดิฉันจะเเนะนำให้ทุกคนรู้จักกับเจมส์บอคกันค่ะ
หรือหลายคนเคยเห็นกันอยู่เเล้ว เราไปรู้จักกับพวกเขากันเลยค่ะ


เจมส์บอค
เจมส์บอค หรือ เจมส์บัก (อังกฤษgemsbok, gemsbuckชื่อวิทยาศาสตร์Oryx gazella) เป็นแอนทิโลปจำพวกออริกซ์ชนิดหนึ่ง จัดเป็นแอนทิโลปขนาดใหญ่ มีรูปร่างกำยำล่ำสัน ดูมีพละกำลัง
โดยที่ชื่อ "เจมส์บอก" ในภาษาอังกฤษมาจากภาษาแอฟริคานส์คำว่า gemsbok ซึ่งมาจากภาษาดัตช์ที่หมายถึงชื่อของชามอยส์ตัวผู้ เนื่องจากมีลักษณะคล้ายคลึงกัน (โดยเฉพาะรูปแบบใบหน้า) แต่ทั้งนี้ชามอยส์และออริกซ์เป็นสัตว์ที่ไม่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด โดยออกเสียงตามปกติในภาษาอังกฤษว่า /ˈɡɛmzbɒk/
ในอดีตเคยถูกจัดให้มีอีกหนึ่งชนิดย่อย คือ ไบซาออริกซ์ หรือออริกซ์แอฟริกาตะวันออก (O. beisa) แต่ปัจจุบันได้ถูกแยกออกมาเป็นชนิดต่างหาก
ตัวผู้มีน้ำหนักตัวประมาณ 170–210 กิโลกรัม ตัวเมีย 140–185 กิโลกรัม ความสูงจากปลายกีบเท้าจรดหัวไหล่ 1.2 เมตร ความยาวลำตัว 2 เมตร ความยาวหาง 85 เซนติเมตร อายุโดยเฉลี่ย 12–15 ปี
มีลักษณะเด่น คือ ปลายเขาที่แหลมยาวนั้นเป็นคู่ถ่างกางออก และมีแถบสีดำคล้ายปานขนาดใหญ่ที่บั้นท้ายลำตัวและที่โคนขาทั้งหน้าและหลัง และยังมีแผ่นหนังสีดำยาวใหญ่พาดเฉียงอยู่เหนือท้องทั้งสองข้าง ซึ่งเป็นความแตกไปจากไบซาออริกซ์ อีกทั้งลำตัวก็บึกบึนกว่า และยังมีแถบสีดำครอบคลุมบริเวณใบหน้ามากกว่า
เจมส์บอกพบได้ทั่วไปในตอนใต้ของแอฟริกา เช่น แอฟริกาใต้, นามิเบีย, บอทสวานา มักอาศัยอยู่ในภูมิประเทศที่เป็นทุ่งหญ้าแห้งแล้ง เช่น พื้นที่กึ่งทะเลทรายและทะเลทราย เช่น ทะเลทรายนามิบทะเลทรายคาลาฮารี พบเป็นจำนวนมากในอุทยานแห่งชาติอีโตซา และอุทยานแห่งชาตินามิบ-นูคลัฟต์ ในนามิเบีย ซึ่งที่นี่เจมส์บอกได้ปรากฎอยู่ในตราแผ่นดินของนามิเบีย ด้วยเป็นสัตว์ที่มีปริมาณมากถึง 373,000 ตัว โดยในธรรมชาติจะตกเป็นอาหารของสัตว์นักล่า เช่น สิงโต, ไฮยีนา และหมาป่าแอฟริกา


ลักษณะ

    ลักษณะ : มีความสูงที่ไหล่ราว 1.2  เมตร มีเขายาวแหลมค่อนข้างโค้ง ปลายเขาถ่างแยกจากกัน หางเป็นพู่ยาวเลยเข่า ที่ใบหน้ามีลายขาวดำ และมีแถบดำรอบปากและจมูก ลำตัวมีสีน้ำตาลอมเทา มีแถบดำเป็นปื้นใหญ่ที่ข้างลำตัวและบริเวณโคนขาทั้งสี่
ถิ่นกำเนิด 
 พบทั่วไปทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปแอฟริกา  บริเวณ นามิเบีย อังโกลา และ แอฟริกาใต้
อุปนิสัย 
    ชอบหากินตามทุ่งหญ้ารวมกับสัตว์กินพืชชนิดอื่น พวกเจมส์บอคเป็นสัตว์ที่ทนอดน้ำได้เป็นเวลานาน จึงสามารถหากินในภูมืภาคแห้งแล้งกึ่งทะเลทรายได้ พวกมันจะอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ และมักวิ่งตามกันเป็นแถวยาวเหยียดในทุ่งหญ้า มีความระวังตัวสูง  เวลาตกใจจะกระโดดหนี  แต่บางครั้งเมื่อถูกโจมตีและจวนตัวก็อาจหันหน้าสู้กับศัตรู



การสังเกตุ
ามีแ เราสามารถสังเกตุลักษณะของตัวผู้และตัวเมียที่ง่ายที่สุดคือ เขา  ซึ่งมีความยาว 1.2 เมตร  เขาของตัวเมียมักจะยาว  บาง  และเล็กกว่า  ความยาวตั้งแต่หัวถึงลำตัวประมาณ 1.9 เมตร  ความสูงถึงไหล่ 1.22 เมตร  น้ำหนักประมาณ 200 กิโลกรัม  พวกมันชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงประมาณ 10-40 ตัว  และมักอยู่รวมกับสัตว์ชนิดอื่นๆ  เช่น ม้าลาย  นอกจากนั้นเจ้าเจมส์บ๊อคยังมีความสามารถในการอดน้ำและอาหารได้เป็นเวลานานอีกด้วยวีปแอฟริกา  บริเวณหน้ามีแถบสีดำ 3 แถบพาดอยู่  บริเวณใต้ท้องกับข้างลำตัวมีเส้นสีดำพาดแบ่งอยู่  มีหางยาวและปลายหางสีดำ  กินพืชและใบไม้เป็นอาหาร  เขาของโอริกซ์กาเซลมีลักษณะเกือบตรงและเกือบขนานกัน  เราสามารถสังเกตุลักษณะของตัวผู้และตัวเมียที่ง่ายที่สุดคือ เขา  ซึ่งมีความยาว 1.2 เมตร  เขาของตัวเมียมักจะยาว  บาง  และเล็กกว่า  ความยาวตั้งแต่หัวถึงลำตัวประมาณ 1.9 เมตร  ความสูงถึงไหล่ 1.22 เมตร  น้ำหนักประมาณ 200 กิโลกรัม  พวกมันชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงประมาณ 10-40 ตัว  และมักอยู่รวมกับสัตว์ชนิดอื่นๆ  เช่น ม้าลาย  นอกจากนั้นเจ้าเจมส์บ๊อคยังมีความสามารถในการอดน้ำและอาหารได้เป็นเวลานานอีกด้วย

ที่มา: เจมส์บอค

เก้ง

เก้งหม้อ

    สวัสดีค่ะ วันนี้ดิฉันจะพาทุกคนไปรู้จักกับเก้งกันค่ะ 
หรือหลายคนอาจรู้จักกันดีอยู่เเล้ว เราไปรู้จักกับพวกเขากันเลยค่ะ


ความเป็นมา
เก้ง หรือ อีเก้ง หรือ ฟาน (อังกฤษBarking deer, Muntjac) เป็นกวางขนาดกลางและเล็กจำพวกหนึ่ง ที่อยู่ในวงศ์ย่อย Muntiacinae กระจายพันธุ์อยู่ตั้งแต่อนุทวีปอินเดียประเทศจีนทางตอนใต้ไปจนถึงภูมิภาคอินโดจีน และเกาะต่าง ๆ ในฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย
มีรูปร่างโดยรวมคือ มีขนตามลำตัวสีน้ำตาล อาจมีสีอื่นผสมแตกต่างกันออกไปตามแต่ละชนิด เขามีขนาดเล็กกว่ากวางในสกุลอื่น ใต้ตามีต่อมน้ำตาเห็นได้ชัดเจน เป็นเส้นสีดำเป็นร่องยาว ตัวผู้เมื่อโตเต็มที่จะมีเขี้ยวงอกออกมาจากมุมปาก หางมีขนาดสั้น เวลาตกใจจะร้องว่า "เอิ๊บ ๆ " แล้วกระโดดหนีไป จึงเป็นที่มาของชื่อในภาษาอังกฤษว่า "Barking deer" (กวางเห่า)
เก้งเป็นกวางที่หากินในสภาพภูมิประเทศได้หลากหลาย ทั้ง ป่าดิบ, ทุ่งหญ้า และพื้นที่ที่เป็นป่าเสื่อมโทรมหรือถูกแผ้วถาง เมื่อยังเป็นวัยอ่อน จะมีจุดสีขาวกระจายอยู่ตามลำตัวเหมือนกวางในสกุล Axis
พบในปัจจุบัน ประมาณ 10 ชนิด มีเพียงสกุลเดียว คือ Muntiacus ซึ่งหลายชนิดเป็นสัตว์ที่หายากและมีข้อมูลทางวิชาการอยู่ไม่มาก บางชนิดก็ใกล้จะสูญพันธุ์แล้ว


การอยู่อาศัย
เก้ง เป็นสัตว์กีบที่เห็นได้ง่ายที่สุดชนิดหนึ่งในป่าเมืองไทย รูปร่างแบบกวาง แต่ตัวเล็ก หลังโก่งเล็กน้อย ลำตัวสีน้ำตาลแดง ด้านใต้ซีดและอมเทาเล็กน้อย หางด้านบนสีน้ำตาลเข้ม ด้านล่างสีขาว เก้งตัวผู้มีเขาสั้น ฐานเขาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระโหลกยื่นยาวขึ้นไปเป็นแท่ง มีขนปกคลุม และมีขนสีดำขึ้นตามแนวเขาจนดูเป็นรูปตัววีเมื่อมองด้านหน้าตรง ส่วนปลายเขาสั้น แต่เป็นง่ามเล็ก ๆ แค่สองง่าม ไม่แตกเป็นกิ่งก้านแบบกวาง ผลัดเขาปีละครั้ง ส่วนตัวเมียไม่มีเขาและฐานเขา แต่บนหน้าก็มีขนรูปตัววีเหมือนกัน เก้งตัวที่อายุมากผู้มีเขี้ยวยาวแหลมโค้งโผล่พ้นขากรรไกรออกมา เก้งเวลาเดินจะยกขาสูงทุกก้าวเก้งร้องเสียงคล้ายหมาเห่า แต่ดังมาก จนบางคนที่ได้ยินเมื่อเข้าป่าอาจตกใจคิดว่าเป็นหมาป่าได้ ภาษาอังกฤษจึงชื่อเรียกว่าเก้งอีกชื่อหนึ่งว่า barking deer ซึ่งแปลว่า "กวางเห่า" นั่นเองเก้งหากินได้ทั้งกลางวันและกลางคืน แต่ส่วนใหญ่จะพบตอนเย็นหรือหัวค่ำ และตอนเช้ามืดจนถึงช่วงสาย อดน้ำไม่เก่ง จึงมักอยู่ไม่ไกลจากแหล่งน้ำ อาหารหลักได้แก่ยอดไม้ หน่ออ่อน ใบไม้ ผลไม้ และรวมถึงเปลือกไม้ด้วย ไม่ค่อยกินหญ้า
เขตกระจายพันธุ์ของเก้ง แพร่กระจายในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ ศรีลังกา อินเดีย จีนตอนใต้ พม่า ไทย ลาว ไทย เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย เกาะสุมาตรา เกาะชวา เกาะบอร์เนียว เกาะไหหลำ และหมู่เกาะซุนดาฤดูผสมพันธุ์อยู่ในฤดูหนาว ตั้งแต่พฤศจิกายนถึงมกราคม ตกลูกต้นฤดูฝนพอดี ปกติตกลูกครั้งละหนึ่งตัว ตั้งท้องนานราว 6 เดือน ออกลูกตามใต้พุ่มไม้ ลูกเก้งมีจุดสีขาวตามตัว เมื่ออายุได้ราว 6 เดือน จุดสีขาวนั้นจึงค่อยจางหายไป เก้งผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุได้ 18 เดือน อายุขัยประมาณ 15 ปี


ลักษณะทั่วไป
เก้งหม้อหรือเก้งดำ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในกลุ่มของสัตว์เคี้ยวเอื้อง มีขนาดไล่เลี่ยกับเก้งธรรมดาหรือเล็กกว่าเล็กน้อย ตัวผู้จะมีเขาแบบ Antler เหมือนเขากวาง โดยมีการผลัดเขาทุกปี เขาสั้นมี 2 กิ่ง กิ่งหน้ามีขนาดสั้นกว่ากิ่งหลัง ขนลำตัวของเก้งหม้อมีสีดำเหมือนดินหม้อ ส่วนท้องสีขาว ลักษณะเด่น ของเก้งหม้อคือ มีหางสั้น ขนปกคลุมหางด้านบนสีดำหางด้านล่างสีขาว ขนที่ขาเหนือกีบขึ้นมาสีดำ มีการกระจายพันธุ์แถบเทือกเขาตระนาวศรีในไทย และพม่า

ที่มา: เก้งหม้อ

ปลาฉลาม

ปลาฉลาม

     สวัสดีค่ะ วันนี้ดิฉันจะเเนะนำให้ทุกคนรู้จักกับปลาฉลามกันค่ะ 
เขาเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในท้องทะเลที่สวยงาม เราไปรู้จักกับพวกเขากันเลยค่ะ



ฉลาม
    ปลาฉลาม (ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Selachimorpha) เป็นปลาในชั้นปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่ง มีรูปร่างโดยรวมเพรียวยาว ส่วนใหญ่มีซี่กรองเหงือก 5 ซี่ ครีบทุกครีบแหลมคม ครีบหางเป็นแฉกเว้าลึก มีจุดเด่นคือ ส่วนหัวและจะงอยปากแหลมยาว ปากเว้าคล้ายพระจันทร์เสี้ยวภายในมีฟันแหลมคม


การเเบ่ง
ปลาฉลามแบ่งออกได้เป็นหลายอันดับ หลายวงศ์ และหลายชนิด โดยปัจจุบันพบแล้วกว่า 440 ชนิด มีขนาดลำตัวแตกต่างออกไปตั้งแต่ 17 เซนติเมตร เท่านั้น ในปลาฉลามแคระ (Etmopterus perryi) ซึ่งเป็นปลาฉลามน้ำลึกที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกบริเวณทวีปอเมริกาใต้ ไปจนถึง ปลาฉลามวาฬ (Rhincodon typus) ที่มีความยาวกว่า 12 เมตร ซึ่งเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วย
ปลาฉลามทุกชนิดเป็นปลากินเนื้อ มักล่าสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ กินเป็นอาหาร แต่ก็มีฉลามบางจำพวกที่กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร เช่น ปลาฉลามในอันดับ Orectolobiformes ได้แก่ ปลาฉลามวาฬ, ปลาฉลามในอันดับ Lamniformes เช่น ปลาฉลามเมกาเมาท์ (Megachasma pelagios) และปลาฉลามอาบแดด (Cetorhinus maximus)
แต่ปลาฉลามบางสกุลในอันดับ Lamniformes เช่น ปลาฉลามมาโก (Isurus spp.) และปลาฉลามในอันดับ Carcharhiniformes มีรูปร่างเพรียวยาว ว่ายน้ำได้ปราดเปรียว โดยอาจทำความเร็วได้ถึง 35 กิโลเมตร/ชั่วโมง เช่น ซึ่งฉลามในอันดับนี้ หลายชนิดเป็นปลาที่ดุร้าย อาจทำร้ายมนุษย์หรือกินสิ่งต่าง ๆ ถึงแม้จะไม่ใช่อาหารได้ด้วย ฉลามในอันดับนี้ได้แก่ ปลาฉลามขาว (Carcharodon carcharias), ปลาฉลามเสือ (Galeocerdo cuvier), ปลาฉลามหัวบาตร (Carcharhinus leucas) เป็นต้น


นอกจากนี้แล้ว ยังมีปลาฉลามที่มีรูปร่างประหลาดและพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากปลาฉลามส่วนใหญ่ อาทิ ปลาฉลามเสือดาว (Stegostoma fasciatum), ปลาฉลามกบ (Chiloscyllium spp.) ที่อยู่ในอันดับ Orectolobiformes ซึ่งเป็นปลาฉลามที่ไม่ดุร้าย มักหากินและอาศัยอยู่ตามพื้นทะเล มีครีบหางโดยเฉพาะครีบหางตอนบนแหลมยาวและมีขนาดใหญ่ และมักมีสีพื้นลำตัวเป็นลวดลายหรือจุดต่าง ๆ เพื่อพรางตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม หรือ ปลาฉลามโบราณ (Chlamydoselachus anguineus) ที่อยู่ในอันดับ Hexanchiformes ที่มีรูปร่างยาวคล้ายปลาไหล เป็นปลาน้ำลึกที่หาได้ยากมาก ๆ และเดิมเคยเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว

ปลาฉลามโดยมากเป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว ในตัวผู้จะมีอวัยวะเพศเป็นติ่งยื่นยาวออกมาหนึ่งคู่เห็นได้ชัด ซึ่งเรียกว่า "เดือย" หรือ "Clasper" ในภาษาอังกฤษ แต่ก็มีเพียงบางชนิดเท่านั้นที่ออกลูกเป็นไข่ โดยมากแล้วเป็นปลาทะเล อาศัยอยู่ในทะเลทั้งเขตอบอุ่นและขั้วโลก มีเพียงบางสกุลและบางชนิดเท่านั้น ที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ อาทิ ปลาฉลามแม่น้ำ (Glyphis spp.) ที่เป็นปลาฉลามน้ำจืดแท้ โดยมีวงจรชีวิตอยู่ในน้ำจืดตลอดทั้งชีวิต และปลาฉลามหัวบาตร หรือ ปลาฉลามครีบดำ (Carcharhinus melanopterus) ที่มักหากินตามชายฝั่งและปากแม่น้ำ ซึ่งอาจปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดสนิทได้


ความสำคัญ
ปลาฉลามมีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการบริโภคเป็นอาหาร โดยเฉพาะในอาหารจีนที่เรียกว่า "หูฉลาม" ซึ่งทำมาจากครีบของปลาฉลาม จัดเป็นอาหารที่มีราคาแพง ทำให้มีการล่าฉลามในการนี้จนเกือบจะสูญพันธุ์ในหลายชนิด และยังนิยมในการตกปลาเป็นเกมกีฬาอีกด้วย

สำหรับในน่านน้ำไทย ในทะเลอันดามันมีการสำรวจพบปลาฉลามแล้วประมาณ 7 ชนิด
  1. Cookiecutter Shark (ปลาฉลามเครื่องตัดคุกกี้) 
  2. Basking Shark (ปลาฉลามบาสกิ้น) 
  3. Megamouth Shark (ปลาฉลามเมกาเมาท์) 
  4. Frilled Shark (ปลาฉลามครุย) 
  5. Whale Shark (ปลาฉลามวาฬ) 
  6. Tiger Shark (ปลาฉลามเสือ) 
  7. Great White Shark (ปลาฉลามขาว)

ที่มา: ฉลาม