วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2562

หมึกมะพร้าว

หมึกมะพร้าว

    สวัสดีค่ะ วันนี้ดิฉันจะเเนะนำให้ทุกคนรู้จักหมึกมะพร้าวกันค่ะ หรือหลายคนอาจรู้จักกันเป็นอย่างดี เราไปรู้จักกับพวกเขากันเลยค่ะ


ประวัติหมึกมะพร้าว

     การเคลื่อนที่ของหมึกจะใช้วิธีขับน้ำจากบริเวณส่วนในของลำตัวผ่านออกทางท่อที่อยู่ใกล้ ๆ หัว จึงทำให้เกิดแรงดันตัวให้พุ่งไปอีกด้านหนึ่ง ขณะเคลื่อนที่จะลู่หนวดตัวเองไว้เพื่อไม่ให้ต้านน้ำ นอกจากนี้แล้วหมึกยังมีอวัยวะที่ช่วยในการพยุงตัวที่เรียกว่า Statocyst ซึ่งหลักการทำงานเหมือนกับแท่งกระดูกในหูของมนุษย์ที่ช่วยในการทรงตัว จึงช่วยให้หมึกสามารถพุ่งไปในทิศทางต่าง ๆ ได้ทั้งขึ้นและลง นอกจากนี้แล้วยังมีสิ่งที่คล้ายกับกระดูกอ่อนที่เรียกว่า Statolith จะอยู่ในระหว่างเซลล์ประสาทแบบขน ซึ่งในกลุ่มหมึกกล้วยจะมีอวัยวะส่วนนี้วิวัฒนาการถึงขีดสุด นับว่าได้ว่า

การหายใจของหมึก
     หมึกจะมีจังหวะการยืดหดตัวของผนังลำตัว ที่จะกระตุ้นการดูดน้ำเข้าและขับน้ำออก น้ำที่มีออกซิเจนจะให้ไหลผ่านเหงือกตลอดเวลา โดยการทำงานร่วมกันของกล้ามเนื้อลำตัว ช่องตัวและลิ้นปิดเปิด มีการทดลองพวกหมึกกระดองในสกุล Sepia ในภาวะปกติ จะมีอัตราการหายใจเข้า 55 ครั้งต่อนาที การหายใจจะเพิ่มขึ้นเมื่อถูกกระตุ้นหรือระหว่างการเคลื่อนที่ก็จะมีการยืดหดตัวอย่างแรง

สีสันเเละการพลางตัว
หมึกเป็นสัตว์เพียงไม่กี่ชนิดในโลก ที่สามารถพรางตัวได้ด้วยการเปลี่ยนสีลำตัวได้อย่างรวดเร็วคล้ายกับสีของหลอดนีออน เนื่องจากเซลล์บนผิวหนังของหมึกที่เรียกว่า Chromatophore ซึ่งอยู่ด้านบนลำตัวมากกว่าด้านข้าง ด้านในมีเม็ดสี เมื่อกล้ามเนื้อหดตัวจะดึงผนังของเซลล์เหล่านี้ให้ขยายใหญ่ขึ้น จึงทำให้สีสันของหมึกสามารถแปรเปลี่ยนไปมาได้ ซึ่งการเปลี่ยนสีของหมึกนั้นไม่ได้ไปเป็นเพื่อการพรางตัวอย่างเดียวเท่านั้น หากแต่ยังแสดงออกถึงอารมณ์ได้อีกด้วย ในกลุ่มหมึกกระดองในเวลากลางวัน อาจจะซุกซ่อนตัวเพื่อพักผ่อน ด้วยการใช้ท่อพ่นน้ำที่เรียกว่า Funnel พ่นพื้นทรายให้เป็นแอ่ง แล้วซุกซ่อนตัวไว้ใต้ทรายนั้น
นอกจากนี้แล้ว หมึกยังมีสารเคมีพิเศษที่ไม่เหมือนกับสัตว์ชนิดไหนในโลกอีกด้วย นั่นคือ น้ำหมึก ซึ่งเป็นที่มาของชื่อในภาษาไทยด้วย น้ำหมึกในหมึกมีไว้เพื่อการป้องกันตัวและหลบหนีจากศัตรู เช่น ปลาขนาดใหญ่และสัตว์ทะเลกินเนื้อชนิดอื่น ๆ เช่น แมวน้ำหรือโลมา ที่กินหมึกเป็นอาหาร น้ำหมึกของหมึกนั้น แท้จริงแล้วเป็นเมือกอย่างหนึ่ง ที่มีสารแขวนลอยสีดำเป็นจำนวนมาก และมีลักษณะเป็นของเหลวฟุ้งกระจายในน้ำได้เป็นอย่างดี ซึ่งในน้ำหมึกนั้นมีสารเคมีที่ออกฤทธิ์เป็นด่างซึ่งจะทำให้ปลาที่ล่าหมึกนั้นเกิดอาการมึนชาไปได้ชั่วขณะ ประกอบกับหมึกใช้เป็นม่านควันกำบังตัวหนีไปได้ด้วย หมึกนั้นจะพ่นน้ำหมึกออกมาจากท่อเดียวกับที่ใช้พ่นน้ำ

การป้องกันตัว
หนวดหมึกนั้น นอกจากใช้จับเหยื่อแล้วยังใช้เพื่อข่มขู่และต่อสู้อีกด้วย เมื่อหมึกชูหนวดคู่หน้าที่ยาวกว่าหนวดอื่น หมายความว่า มันพร้อมที่จะสู้ ซึ่งหมึกโดยเฉพาะตัวผู้มักจะต่อสู้กัน เพื่อแย่งตัวเมียและปกป้องอาณาเขตหากิน สมองและการมองเห็นของหมึกนั้นวิวัฒนาการมาดีที่สุดในบรรดาสัตว์ไม่มีกระดูกสั้นหลังทั้งหมด ระบบประสาทเมื่อเทียบกับมนุษย์แล้วถือว่าดีกว่าถึง 50 เท่า
หมึกเมื่อจะล่าเหยื่อ จะเริ่มต้นด้วยการจ้องเหยื่อก่อน และกะระยะให้พอดีที่จะจู่โจมเข้าใส่ ซึ่งหมึกจะใช้หนวดที่แข็งแรงมัดรัดเหยื่อไว้ก่อนที่จะใช้ขากรรไกรที่แข็งแรงและคมเหมือนปากนกแก้ว ฉีกกัดเหยื่อ นอกจากนี้แล้วในน้ำลายของหมึกยังมีสารเคมีที่เรียกว่า Chephalotoxin ซึ่งมีเฉพาะในกลุ่มหมึกยักษ์และหมึกกระดองเท่านั้น ซึ่งส่งผลต่อระบบประสาทในสัตว์จำพวกกุ้งปูเท่านั้น เพื่อตกเป็นอาหารตามธรรมชาติของหมึก แต่ทว่าในหมึกน้ำลึกบางชนิดก็ไม่มีน้ำหมึกที่ว่านี้
นอกจากนี้แล้ว หมึกในสกุล หมึกสายวงน้ำเงิน ซึ่งเป็นหมึกในกลุ่ม หมึกยักษ์หรือหมึกสาย เป็นหมึกขนาดเล็กกว่า แต่ทว่าในน้ำลายมีพิษที่ร้ายแรงมาก เทียบเท่ากับพิษของงูเห่า 20 ตัวเลยทีเดียว
โดยมากแล้ว หมึกจะใช้เวลากลางคืนออกหาอาหาร ส่วนกลางวันนั้นใช้พักผ่อนนอนหลับ หมึกทุกชนิดเป็นสัตว์กินเนื้อ โดยจะออกล่าเหยื่อที่เป็นสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เป็นอาหาร ไม่เว้นแม้แต่กระทั่งหมึกด้วยกันเอง

การสืบพันธุ์
หมึกส่วนมากจะมีอายุขัยโดยเฉลี่ยไม่เกิน 4 ปี อย่างหมึกกระดองมีอายุขัยราว 240 วัน หมึกถือเป็นสัตว์ที่มีการเจริญเติบโตเร็วมาก เมื่ออายุถึง 3 เดือน ก็สามารถสืบพันธุ์ได้ หมึกมักจะจับคู่เป็นคู่ ๆ โดยในหมึกกระดองตัวผู้จะมีถุงสเปิร์ม ซึ่งตัวผู้จะใช้หนวดดึงถุงสเปิร์มนี้ไว้ในตัวตัวเมียบริเวณรอบปาก ในขณะที่หมึกกล้วยจะทิ้งไว้ข้างลำตัว
หมึกจะวางไข่ไว้ในโพรงหรือติดกับวัสดุต่าง ๆ ใต้น้ำ เช่น หินหรือปะการัง เมื่อฟักเป็นตัวแล้ว หมึกในวัยเล็กจะมีรูปร่างเหมือนตัวเต็มวัยทุกประการ หมึกตัวเมียในกลุ่มหมึกกระดองเมื่อวางไข่แล้ว น้ำหนักจะค่อย ๆ ลดลงและตายลงในที่สุด ในขณะที่หมึกยักษ์ตัวเมียจะดูแลไข่และดูแลลูกจนกระทั่งฟักออกมาเป็นตัว

เเมงกะพรุน

เเมงกะพรุน

     สวัสดีค่ะ วันนี้ดิฉันจะเเนำนำให้ทุกคนรู้จักกับเเมงกะพรุนกันค่ะ เป็นสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลัง อาศัยอยู่ในทะเล เราไปรู้จักกับพวกเขากันเรยค่ะ


ประวัติเเมงกะพรุน

     แมงกะพรุน หรือ กะพรุน จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมไนดาเรีย ไฟลัมย่อยเมดูโซซัว แบ่งออกเป็นอันดับได้ 5 อันดับ (ดูในตาราง) ลักษณะลำตัวใสและนิ่มมีโพรงทำหน้าที่เป็นทางเดินอาหารมีเข็มพิษที่บริเวณหนวดที่อยู่ด้านล่าง ไว้ป้องกันตัวและจับเหยื่อ เมื่อโตเต็มวัย ส่วนประกอบหลักในลำตัวเป็นน้ำร้อยละ 94-98 ด้านบนเป็นวงโค้งคล้ายร่ม ด้านล่างตอนกลางเป็นอวัยวะทำหน้าที่กินและย่อยอาหาร พบได้ในทะเลทุกแห่งทั่วโลก
แมงกะพรุนส่วนใหญ่จัดอยู่ในอันดับไซโฟซัว แต่ก็บางประเภทที่อยู่ในอันดับไฮโดรซัว อาทิ แมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส (Physalia physalis) ซึ่งเป็นแมงกะพรุนที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก และแมงกะพรุนอิรุคันจิ (Malo kingi) ที่อยู่ในอันดับคูโบซัว ก็ถูกเรียกว่าแมงกะพรุนเช่นกัน

รูปร่าง
แมงกะพรุนเป็นสัตว์ที่มีลำตัวโปร่งใส ร่างกายประกอบด้วยเจลาตินเป็นส่วนใหญ่ สามารถมองเห็นเข้าไปได้ถึงอวัยวะภายใน เป็นสัตว์ที่ไม่มีทั้งสมองหรือหัวใจ ลำตัวด้านบนของแมงกะพรุนมีลักษณะคล้ายร่ม เรียกว่า "เมดูซา" ซึ่งศัพท์นี้ก็ใช้เป็นอีกชื่อหนึ่งของแมงกะพรุนด้วยเช่นกัน
แมงกะพรุนเป็นสัตว์ที่ถือกำเนิดขึ้นมาแล้วกว่า 505 หรือ 600 ล้านปี โดยถือกำเนิดก่อนไดโนเสาร์ถึง 230 ล้านปี หรือก่อนมนุษย์ราว 500,000 ปี โดยถือได้ว่าเป็นสัตว์ที่ถือกำเนิดมานานแล้วจำพวกหนึ่งที่มีวิวัฒนาการสูงสุด มีวงจรชีวิตที่ขยายพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ

วงจรชีวิต
หลังจากผสมพันธุ์แล้ว แมงกะพรุนเมื่อได้ปฏิสนธิแล้ว หลังจากนั้นตัวอ่อนจะพัฒนาขึ้นมา มีลักษณะเหมือนขนหรือหนอนตัวเล็ก ๆ มีขนละเอียดรอบตัว เรียกว่า "ซิเลีย" จากนั้นจะพัฒนาไปเป็น "พลานูลา" จะคืบคลานไปหาที่ ๆ เหมาะสมเพื่อเกาะและเปลี่ยนรูปร่างกลายเป็น "โพลิป" ซึ่งมีสันฐานเหมือนดอกไม้ทะเลขนาดจิ๋ว คือ มีลำตัวที่เหมือนกับแจกันเกาะอยู่กับวัสดุต่าง ๆ ลำตัวหงายขึ้น โดยมีหนวดอยู่รอบปากด้านบน ซึ่งแตกต่างไปจากแมงกะพรุนตัวเต็มวัย เมื่อโพลิปได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และจำเพาะก็จะเกิดการแตกหน่อซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ซึ่งคือ แมงกะพรุนขนาดเล็กที่ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ จะหลุดและลอยไปตามกระแสน้ำ ที่เรียกว่า "อีฟีรา" หรือ "เมดูซา" มีลักษณะเหมือนแมงกะพรุนตัวเต็มวัย คือ ลำตัวคว่ำลง หนวดอยู่ด้านล่าง หากแมงกะพรุนในขั้นนี้ได้รับอาหารที่พอเพียง อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม ก็จะเจริญเติบโตกลายเป็นแมงกะพรุนตัวเต็มวัย เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ต่อไปก็จะเข้าสู่วงจรเหล่านี้ใหม่อีกครั้ง
นอกจากนี้แล้ว จากการศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนียพบว่า แมงกะพรุนเป็นสัตว์ที่มีการนอนหลับพักผ่อนเช่นเดียวกับสัตว์ชั้นสูงหรือสัตว์ที่มีโคร่งร่างซับซ้อนชนิดอื่น ๆ ด้วย ทั้งที่เป็นสัตว์ที่ไม่มีสมองหรือระบบประสาทส่วนกลาง แต่ทว่ามีการพัฒนาของเซลล์ประสาท

พิษ
แมงกะพรุนหลายชนิดมีพิษ โดยบริเวณหนวดและแขนงที่ยื่นรอบปาก เรียกว่า "มีนีมาโตซีส" หรือเข็มพิษ ใช้สำหรับฆ่าเหยื่อ หรือทำให้เหยื่อสลบก่อนจับกินเป็นอาหาร ซึ่งโดยมากเป็น ปลา และใช้สำหรับป้องกันตัว ปริมาณของนีมาโตซีสอาจมีจำนวนถึง 80,000 เซลล์ ใน 1 ตารางเซนติเมตรเท่านั้น ภายในนีมาโตซีสนี้เองมีน้ำพิษที่เป็นอันตรายทำให้เกิดอาการคัน เป็นผื่น บวมแดง เป็นรอยไหม้ ปวดแสบปวดร้อน และเป็นแผลเรื้อรังได้ หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ขึ้นอยู่กับแมงกะพรุนแต่ละชนิด ในชนิด Chironex fleckeri ซึ่งเป็นแมงกะพรุนกล่องชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีเซลล์เข็มพิษมากถึง 4-5,000,000,000 ล้านเซลล์ ในหนวดทั้งหมด 60 เส้น[6] [7] ซึ่งมีผลทางระบบโลหิต โดยไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดง ทำให้โลหิตเป็นพิษ และเสียชีวิตลงได้ในระยะเวลาอันสั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

การจำเเนก

โดยทั่วไปแล้ว แมงกะพรุนมีหลายชนิดที่สามารถรับประทานได้ โดยชาวประมงจะเก็บจากทะเล และผ่าออกทำการตากแห้งและหมักกับเกลือสารส้มและโซเดียมก่อนจะนำออกขาย โดยประกอบอาหารได้หลายประเภท อาทิ ยำ และเป็นส่วนประกอบสำคัญของเย็นตาโฟ ซึ่งแมงกะพรุนชนิดที่รับประทานได้ คือ แมงกะพรุนหนัง (Rhopilema spp.) และ แมงกะพรุนจาน (Aurelia spp.) ซึ่งชาวจีนมีการรับประทานแมงกะพรุนมาไม่ต่ำกว่า 1,000 ปีแล้ว คุณค่าทางอาหารของแมงกะพรุน คือ มีโปรตีนสูงและแคลอรีต่ำ เป็นโปรตีนประเภทคอลลาเจนสามารถรับประทานได้ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าคอลลาเจนจากแมงกะพรุนอาจจะมีส่วนรักษาโรคไขข้ออักเสบ และโรคหลอดลมอักเสบ ตลอดจนทำให้ผิวหนังนุ่มนวลด้วย 
แมงกะพรุนเป็นสัตว์ที่พบได้ในท้องทะเลทั่วทุกภูมิภาคของโลก ทั้งส่วนที่หนาวเย็นเป็นน้ำแข็งเช่น มหาสมุทรอาร์กติก หรือในที่ ๆ ลึกเป็นพัน ๆ เมตรที่แสงสว่างส่องลงไปไม่ถึง คาดการว่ามีแมงกะพรุนทั้งหมดราว 30,000 ชนิด แต่ชนิดที่เป็นที่รู้จักกันดีราว 2,000 ชนิด และเป็นแมงกะพรุนที่มีพิษราว 70 ชนิด ที่มีอันตรายต่อมนุษย์
ขณะที่แมงกะพรุนชนิดที่มีพิษ จะถูกเรียกรวม ๆ กันว่า แมงกะพรุนไฟ (Crysaora spp.) ส่วนใหญ่มีลำตัวสีแดงหรือสีส้ม จะมีพิษที่บริเวณหนวดที่มีน้ำพิษ ใช้สำหรับเพื่อล่าเหยื่อและป้องกันตัว สร้างความเจ็บปวดให้กับผู้ที่ถูกต่อยได้ บริเวณที่ถูกต่อยนั้นจะปรากฏรอยคล้ายรอยไหม้เป็นผื่น จากนั้นในอีก 20-30 นาทีต่อมา จะบวมนูนขึ้นเป็นทางยาวตามผิวหนัง ต่อไปจะเกิดเป็นแผลเล็ก ๆ และแตกออกเป็นแผลเรื้อรัง กล้ามเนื้อเกร็งและบังคับไม่ได้ จุกเสียด หายใจไม่ออก และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งสิ่งที่สามารถปฐมพยาบาลพิษของแมงกะพรุนไฟได้เป็นอย่างดี คือ ใบของผักบุ้งทะเล (Ipomoea pes-caprae) ใช้ร่วมกับน้ำส้มสายชูขยี้บริเวณที่ถูกพิษ จะช่วยทุเลาอาการได้ และหากมีอาการปวดสามารถรับประทานยาจำพวก แอสไพรินได้ ก่อนจะนำส่งสถานพยาบาล หรือการปฐมพยาบาลแบบง่ายที่สุด คือ ใช้น้ำทะเลราดบริเวณที่ถูกต่อย เพื่อให้เข็มพิษของแมงกะพรุนนั้นหลุดไป จากนั้นจึงใช้น้ำส้มสายชูราดลงไป ก็จะทำลายพิษได้ ห้ามใช้น้ำจืดเด็ดขาด เพราะจะทำให้พิษกระจายตัวและออกมาจากถุงพิษมากขึ้น 
มีสัตว์บางประเภทที่ถูกเรียกว่า แมงกะพรุน เช่นกัน แต่พบอาศัยอยู่ในน้ำจืด คือ แมงกะพรุนน้ำจืด (Craspedacusta spp.) จัดเป็นแมงกะพรุนขนาดเล็ก พบในแหล่งน้ำจืดของสหรัฐอเมริกาและทวีปเอเชีย รวมทั้งประเทศไทยด้วย แต่ถูกจัดให้อยู่ในชั้นไฮโดรซัว
แมงกะพรุนชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ แมงกะพรุนขนสิงโต (Cyanea capillata) ที่เมื่อแผ่ออกแล้วอาจมีความกว้างได้ถึงเกือบ 3 เมตร และยาวถึง 37 เมตร ปกติพบในอาร์กติกมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ และมหาสมุทรแปซิฟิคเหนือ


กวางเเฟลโลว์

กวางเเฟลโลว์

     สวัสดีค่ะ วันนี้ดิฉันจะพาทุกคนไปรู้จักกับกวางฟอลโลว์กันค่ะ เป็นกวางขนาดเล็กน่ารักๆ
หรือหลายคนอาจรู้จักกันเป็นอย่างดี เราไปรู้จักกับพวกเขากันเลยค่ะ


ประวัติกวางเเฟลโลว์

กวางแฟลโลว์ (อังกฤษfallow deer) เป็นกวางขนาดเล็ก มีความสูงที่ไหล่ประมาณ 1 เมตร ลักษณะเด่นที่แตกต่างจากกวางชนิดอื่นๆ คือ ปลายลำเขาแบนจนมีลักษณะเป็นแผ่นคล้ายกับกวางมูส ซึ่งมีแผ่นแบนกว้าง ขนตามลำตัวสีน้ำตาลแต้มด้วยจุดสีขาว แต่จุดเหล่านี้จะหายไปช่วงฤดูหนาว
เดิมทีกวางชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดในป่าบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แต่ได้ถูกนำไปเลี้ยงในยุโรปและอเมริกา ในที่สุดกวางในถิ่นอาศัยดั้งเดิมก็สูญพันธุ์ คงเหลือแต่กวางที่เปลี่ยนถิ่นฐานไปแล้ว จนบางตัวมีสีเผือก เนื่องจากผสมพันธุ์ในสายเลือดเดียวกันจนเกิดข้อด้อยดังกล่าว

ลักษณะ
     ลักษณะโดยทั่วไป เป็นกวางขนาดเล็ก มีถิ่นกำเนิดในยุโรป เมดิเตอร์เรเนียน โตเต็มที่มีความสูงประมาณ 75-105 ซม. น้ำหนัก 50-80 กก. หน้าสั้น ลำตัวมีสีน้ำตาลจาง-น้ำตาลสนิม มีจุดขาว บางตัวมีสีขาวตลอดลำตัว ฤดูร้อนลำตัวจะเป็นสีน้ำตาลมีจุดขาวเห็นเด่นชัด หน้าหนาวลำตัวจะมีสีน้ำตาลสนิม-น้ำตาลเทา มีจุดน้อยสีขาวจางๆ 
        อุปนิสัย   ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง เป็นกวางที่ค่อนข้างขี้ขลาด ตื่นเต้นได้ง่ายกว่ากวางพันธุ์อื่น ถ้าเกิดเสียงดังจะวิ่งหนี หรือกระโดด (คล้ายกระต่าย) ไปก่อน แล้วค่อยเดินกลับมาดูใหม่ แต่ถ้าเวลาให้อาหารก็จะเข้ามาใกล้ ย้ายฝูงได้ง่าย
           
      ในกวางเพศผู้ช่วงที่มีเขาแข็งถ้าเกิดความเครียด เช่นไล่ต้อนฝูงเข้าไปอยู่ในที่แคบ ๆ เพื่อทำเบอร์ หรือ ฉีดยา กวางตัวผู้จะหันไปขวิดกันเอง   และหันมาทำร้ายกวางตัวเมียและลูกกวางอาจเกิดความเสียหายได้
       ในกวางเพศเมีย ระยะคลอดลูกถ้าเกิดความเครียดจากการรบกวน จากการไล่ฝูง หรือการไล่ฝูงอื่น ที่อยู่ใกล้ ๆ หรือคนเข้าไปดูลูกกวางที่เกิดใหม่ จะทำให้แม่กวางไม่ยอมเลี้ยงลูกและทิ้งลูกไปเลย ต้องจับลูกมาเลี้ยงและส่วนใหญ่จะเลี้ยงไม่รอดเนื่องจากลูกกวางอ่อนแอมาก
        ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการเลี้ยงกวางฟอลโล เนื่องจากเป็นกวางที่มีถิ่นกำเนิดในเขตหนาว ต้องดูแลมากเป็นพิเศษ ทั้งในด้านการให้อาหารข้นที่มีคุณภาพ และอาหารหยาบ ในช่วงหน้าแล้งที่มีแต่หญ้าแห้ง หญ้าหมัก ต้องหากิ่งไม้ ใบไม้สดเสริม เพราะกวางจะทรุดโทรมง่ายกว่ากวางพันธุ์อื่น ๆ  ซึ่งจะมีผลต่อการให้ลูกในปีต่อไป
ลูกที่เกิดในฤดูฝน (พฤษภาคม-มิถุนายน) มีความชื้นในอากาศสูง ทำให้ลูกกวางมีสภาพอ่อนแอ และเกิดโรคปอดบวมแทรกซ้อนได้ง่าย ทำให้เกิดการสูญเสียมาก จึงต้องมีการกำหนดฤดูการผสมพันธุ์ใหม่ให้ลูกเกิดในช่วงปลายเดือนกันยายน-ต้น พฤศจิกายน ซึ่งจะต้องมีการศึกษาวิจัยต่อไป


อุปนิสัย

    อุปนิสัย : ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง รักสงบ ออกหากินในตอนกลางวัน ในฤดูหนาวมันจะกินตาของต้นไม้ พุ่มไม้ และเปลือกไม้
การสืบพันธ์ : กวางฟอลโลว์ ตั้งท้องนานประมาณ 7 เดือนครึ่ง และตกลูกครั้งละ 1 – 2 ตัว
    สถานภาพ : ปัจจุบันกวางฟอลโลว์ ได้สูญพันธ์ไปจากถิ่นกำเนิดเดิมของมันแล้ว แต่ได้มีการนำไปเพาะเลี้ยงทั่วยุโรปและกลายเป็นสัตว์ที่มีทั่วไปในทวีป



วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ม้าลาย

ม้าลาย

      สวัสดีค่ะ วันนี้ดิฉันจะมาเเนะนำให้ทุกคนรู้จักกับม้าลายกันค่ะ หรือหลายคนอาจรู้จักกันอยู่เเล้วเราไปรู้จักกับพวกเขากันเลยค่ะ


ประวัติม้าลาย

     ม้าลาย เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกีบคี่ จัดอยู่ในสกุลม้า (Eguus) และจัดอยู่ในสกุลย่อย Hippotigris (แปลว่า ม้าลายเสือ) และDolichohippus แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด  ม้าลายเป็นม้าจำพวกหนึ่งที่มีขนาดเล็กกว่าม้า แต่มีปลายหางคล้ายลา มีแผงคอที่สั้นเหมือนขนแปรง มีลักษณะเด่น คือ มีลำตัวเป็นสีขาวสลับดำตลอดทั้งตัว ซึ่งสีอันโดดเด่นนี้ เป็นคำถามมาเป็นระยะเวลานานแล้วว่า แท้ที่จริงแล้วม้าลายเป็นสัตว์ที่มีพื้นลำตัวขาวและมีแถบสีดำพาดผ่าน หรือเป็นสัตว์ที่มีพื้นลำตัวสีดำและมีแถบสีขาวพาดผ่านกันแน่ ในความเชื่อของชาวพื้นเมืองแอฟริกา เชื่อว่า ม้าลายเป็นสัตว์ที่มีสีดำและมีแถบสีขาวพาดผ่าน

ลักษณะ
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดในการที่ม้าลายมีลายแถบสีขาวเหล่านี้ เชื่อว่าใช้ในการพรางตัวจากศัตรู และทำให้ศัตรูซึ่งได้แก่ สัตว์กินเนื้อต่าง ๆ ตาลายได้เมื่อได้พบเจอม้าลายที่อยู่รวมกันเป็นฝูงในทุ่งหญ้ากว้าง ทำให้จับระยะทางที่จะโจมตีผิดพลาดไป สำหรับทัศนะของชาร์ลส์ ดาร์วิน เชื่อว่าม้าลายมีลายเพื่อจดจำกันได้ และตัวผู้ใช้เกี้ยวพาตัวเมีย รวมทั้งเชื่อว่ามีไว้ป้องกันแมลง โดยเฉพาะแมลงวัน มีหลักฐานว่าม้าลายดึงดูดแมลงน้อยกว่าสัตว์กินพืชชนิดอื่น ๆ ในแอฟริกา จากการทดลองของนักวิทยาศาสตร์ชาวฮังการีกลุ่มหนึ่ง ที่ทดลองโดยการนำหุ่นของม้า 4 ตัว ที่มีสีสันต่าง ๆ แตกต่างกันไป ไปตั้งไว้ในทุ่งหญ้า รวมถึงม้าลาย พบกว่าหุ่นม้าลายมีแมลงมาเกาะน้อยที่สุด ทั้งนี้เชื่อว่าเพราะตาของแมลงเป็นระบบตารวมที่มีส่วนประกอบมากมาย และแมลงจะลงเกาะโดยการใช้แสงโพลาไรซ์ช่วย เป็นไปได้ว่าลายทางของม้าลายไปรบกวนแสงโพลาไรซ์ในการมองของแมลง ทำให้ยากในการลงเกาะบนตัวของม้าลายจากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่า ม้าลายแท้ที่จริงเป็นสัตว์ที่มีพื้นลำตัวสีดำและมีลายแถบสีขาวพาดผ่านลำตัว ซึ่งลายแถบสีขาวนั้นเกิดจากเซลล์ประสาทที่เรียงรายตามแนวกระดูกสันหลังส่วนหนึ่ง จะเปลี่ยนสภาพไปเป็นเซลล์ผลิตเม็ดสีสีดำ เรียกว่า เมลาโนไซท์ หลังจากนั้น เมลาโนไซท์เหล่านี้ จะเคลื่อนออกไปด้านข้างของกระดูกสันหลังในแนวตั้งฉาก แล้วเปลี่ยนสภาพไปเป็นผิวหนังที่มีเม็ดสีสีดำ ซึ่งรูปแบบของเม็ดสีในสัตว์แต่ละชนิดนั้น ขึ้นอยู่กับการกระตุ้นทางพันธุกรรม ในการเปลี่ยนสภาพ และการเคลื่อนที่ของเมลาโนไซท์ โดยจากการศึกษาพบว่าตัวอ่อนของม้าลายที่อยู่ในท้องแม่ จะเป็นตัวสีดำก่อน จากนั้นลายแถบสีขาวจึงค่อย ๆ พัฒนาขึ้น ซึ่งม้าลายแต่ละตัวก็จะมีลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนกัน

ถิ่นอาศัย

พบทั่วไปในทวีปแอฟริกาแถบที่ราบโล่งทางตอนใต้ของทะเลทรายสะฮารา โดยแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด และแบ่งออกได้เป็นหลายชนิดย่อย ในอดีตการจำแนกแบ่งประเภทของม้าลายแบ่งออกได้เป็นกว่า 10 ชนิด และแบ่งออกตามถิ่นที่อยู่อาศัย แต่ปัจจุบันหลงเหลืออยู่เพียง 3 ชนิด และไม่สามารถแบ่งได้ตามที่อาศัยได้เหมือนเดิมอีกแล้ว เนื่องจากสภาพแวดล้อมและสภาวะความเป็นอยู่ที่เปลี่ยนไป

พฤติกรรมเเละการสืบพันธุ์
ชอบอาศัยอยู่ตามที่ราบโล่งที่เป็นหญ้า มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง ฝูงหนึ่งมีหลายร้อยตัวจนถึงเป็นพัน โดยจะเล็มหญ้าหากินร่วมกับสัตว์อื่นในทุ่งกว้าง เช่น นกกระจอกเทศ ยีราฟ แอนทิโลป และสัตว์กีบชนิดอื่น ๆ ม้าลายมักจะมีนกกินแมลงจับเกาะอยู่บนหลัง เพื่อช่วยระวังภัยและกินพวกแมลงที่มารบกวน และมีนกกระจอกเทศและยีราฟคอยช่วยเป็นป้อมยามคอยเตือนภัยและระวังภัยให้ เพราะม้าลายสายตาไม่ค่อยดี แต่จมูกและหูไวมาก ฟันของม้าลายค่อนข้างคม จึงแทะเล็มในส่วนที่เป็นโคนและลำต้นของหญ้าได้ ขณะที่สัตว์อื่น ๆ เช่น แอนทีโลป จะกินยอดหญ้า นับเป็นการแบ่งปันอาหารกันตามธรรมชาติ มีอายุยืนประมาณ 25–30 ปี ม้าลายเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุประมาณ 2 ปี ตั้งท้องนานประมาณ 345–390 วัน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกม้าลายแรกเกิดจะมีขนปุกปุยและมีแถบสีน้ำตาลสลับขาว และใช้เวลาไม่นานในการยืนและวิ่งได้ทันทีหลังคลอด


ม้าลาย โดยปกติจะไม่ใช้เป็นม้าใช้งานเหมือนกับม้าหรือลาชนิดอื่น ๆ เนื่องจากเป็นสัตว์ป่าที่ฝึกให้เชื่องได้ยาก ม้าลายมีอารมณ์ฉุนเฉียวไม่แน่ไม่นอน อีกทั้งมีขนาดเล็ก จึงไม่เหมาะแก่การใช้งาน แต่ทว่าก็มีผู้ที่สามารถฝึกม้าลายได้บ้าง เช่น ฝึกให้เป็นม้าลากรถในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นต้น[3] ส่วนมากม้าลายจะเป็นสัตว์ที่เลี้ยงแสดงกันตามสวนสัตว์ ม้าลายในธรรมชาติจะถูกล่าเพื่อเอาเนื้อบริโภคเป็นอาหารและหนังเพื่อทำเป็นเครื่องประดับ และเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งทำให้ม้าลายบางชนิดสูญพันธุ์ไปแล้ว[4][5]
ม้าลาย เป็นสัตว์ที่เป็นที่นิยมอย่างมากของชาวยุโรปในยุคศตวรรษที่ 18 โดยเฉพาะในอังกฤษ ม้าลายกลายเป็นสัตว์เลี้ยงของขุนนางและพระราชวงศ์ โดยเป็นสัตว์เลี้ยงในพระราชวังบักกิงแฮมของพระนางเจ้าชาร์ล็อตต์พระมเหสีในพระเจ้าจอร์จที่ 3 ด้วยพระนางทรงสนพระทัยในเรื่องธรรมชาติวิทยา[1]

ความผูกพันธุ์กับมนุษย์
ด้วยลวดลายอันโดดเด่นของม้าลาย จึงทำให้ลายของม้าใช้เป็นสัญลักษณ์หรือตราสัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น ทางม้าลาย บนพื้นถนนสำหรับการข้ามถนนของผู้คนที่เดินสัญจรปกติ[6] และเป็นสัญลักษณ์หรือฉายาขององค์กรหรือสโมสรต่าง ๆ เช่น สโมสรฟุตบอลยูเวนตุสในกัลโช่เซเรียอา ของอิตาลี ก็มีฉายาว่า "ม้าลาย" ตามสีของชุดแข่งขันและสัญลักษณ์ประจำสโมสร เป็นต้น


ที่มา: ม้าลาย

หอยงวงช้างมุก



หอยงวงช้างมุก

     สวัสดีค่ะ วันนี้ดิฉันจะพาทุกคนไปสัมผัสกับธรรมชาติกันค่ะ จะพาทุกคนไปรู้จักกับหอยงวงช้างมุกกันค่ะ เราไปทำความรู้จักกับเขากันเลยค่ะ



หอยงวงช้างมุก (Chambered nautilus) 
    จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับพวกหมึก แต่เป็นหมึกที่มีเปลือกแข็งหุ้มรอบตัว จึงเป็นเหตุให้เรียกเป็นหอย  ขณะที่หมึกชนิดอื่นๆ ไม่มีเปลือก เปลือกหอยงวงช้างมีขนาดค่อนข้างใหญ่ หนา และแข็ง เปลือกเป็นชิ้นเดียวโดยม้วนเป็นวงในแนวราบแทนการยกขึ้นสูงในแนวตั้ง  วงเกลียวสุดท้ายของเปลือกคลุมวง                เกลียวที่เกิดมาก่อนไว้ทั้งหมด ผิวเปลือกค่อนข้างเรียบ มีลายเป็นแถบสีน้ำตาลอมแดง พาดอยู่บนพื้น สีครีม ด้านในของเปลือกมีชั้นมุก เมื่อโตเต็มวัยภายในเปลือกจะมีแผ่นกั้นตามขวางทำให้แบ่งเป็นห้องๆ ตัวหอยอาศัยในห้องเปลือกด้านนอกสุด ซึ่งมีขนาดใหญ่สุดและติดต่อกับภายนอก ส่วนห้องเปลือกด้าน  ในอาจใช้บรรจุน้ำหรืออากาศ เพื่อควบคุมการลอยตัว และการจมตัวของหอย ตัวหอยงวงช้างมุกประกอบ  ด้วยส่วนหัวและลำตัว หัวมีขนาดใหญ่ ที่หัวมีตา ๑ คู่ บริเวณปากมีหนวดประมาณ ๕๐ คู่ เรียงเป็นวงรอบปาก ๒ วง ส่วนด้านล่างของหัวมีท่อน้ำใหญ่ เหนือหัวมีแผ่นเนื้อเป็นกะบัง สำหรับใช้ปิดช่อง เปลือกขณะหอยหดตัวและหัวเข้าไปในเปลือก หอยงวงช้างอาศัยในทะเลที่ลึกมากกว่า ๖๐ เมตร ถึงระดับลึกมาก ปกติจะคืบคลานอยู่ตามพื้นทะเล หรือซ่อนตัวอยู่ตามซอกหิน มักออกหาอาหารในเวลากลางคืน โดยเคลื่อนตัวขึ้นมาที่ผิวน้ำ และกลับลงสู่ที่ลึกในเวลากลางคืน อาหารเป็นสัตว์ขนาดเล็ก เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา รวมถึงเศษซากตามพื้นทะเล โดยใช้หนวดจับ เคลื่อนตัวและว่ายน้ำได้ดีในลักษณะถอยหลัง เพศผู้มีขนาดเล็กกว่าเพศเมีย หอยงวงช้างมุกเพศเมียวางไข่ติดไว้ตามก้อนหิน หรือวัตถุอื่นๆ ใต้น้ำ เมื่อฟักออกจากไข่ ลูกหอยมีลักษณะคล้ายตัวเต็มวัย และว่ายน้ำได้ หอยงวงช้างมุกมีอายุขัยประมาณ ๒๐ ปี
                                                   

ที่อยู่อาศัย
   หอยงวงช้างมุกแพร่กระจายอยู่ในเขตร้อนและเขตอบอุ่น แถบมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก มีอยู่ ๒ สกุล ๖ ชนิด ในทะเลไทยพบเพียงชนิดเดียว มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเปลือก ๑๓ - ๑๕ เซนติเมตร เปลือกมักนำมาวางขาย รวมกับเปลือกหอยชนิดอื่นๆ

หอยงวงช้างกระดาษ (Paper nautilus, Argonauts) 

    จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับพวกหมึก เฉพาะเพศเมียเท่านั้น ที่มีเปลือกหุ้มตัว เพื่อใช้เป็นที่สำหรับวางไข่และฟักไข่ เพศผู้มีขนาดเล็กกว่าเพศเมียมาก และไม่มีเปลือกหุ้มตัว เปลือกหอยงวงช้างกระดาษมีลักษณะบาง เบา เปราะ แตกหักง่าย ม้วนเป็นวงในแนวราบ วงเกลียวแรกๆ เป็นสีน้ำตาลเข้มและค่อยๆ จางลงเป็นสีขาวหม่น หรือสีครีมในวงเกลียวสุดท้าย วงเกลียวสุดท้ายจะคลุมวงเกลียวแรกๆ ไว้ทั้งหมด ผิวเปลือกมีร่องตามขวางและสันหยัก ทำให้เห็นเป็นลอนตื้นจากจุดยอด ออกไปในแนวรัศมี ตามสันเปลือกมีปมเรียงเป็นแถว ตัวหอยงวงช้างกระดาษประกอบด้วยส่วนหัวและลำตัว ที่หัวมีตาขนาดใหญ่ ๑ คู่ รอบปากมีหนวดหรือแขน ๘ อัน ลำตัวไม่มีครีบ เพศเมียมีลำตัวคล้ายถุงรูปรี หัวเล็กเมื่อเทียบกับขนาดของลำตัว ปลายหนวดคู่แรกมีลักษณะแบน และมีต่อมที่ผลิตสารสำหรับสร้างเปลือก เพศผู้มีลำตัวกลมคล้ายถุง หัวใหญ่ การผสมพันธุ์มีการจับคู่กัน เพศเมียวางไข่ไว้ในเปลือก ไข่มีลักษณะเป็นไข่เดี่ยว ไข่แต่ละฟองมีตัวอ่อนเพียงตัวเดียว ตัวอ่อนที่ฟักออกมาจากไข่ มีลักษณะคล้ายตัวเต็มวัยแต่มีหนวดสั้น


     หอยงวงช้างกระดาษอาศัยในทะเลที่ห่างฝั่ง ตั้งแต่ระดับผิวน้ำไปจนถึงระดับน้ำลึกประมาณ ๑๐๐ เมตร ว่ายน้ำได้ดี แต่มักจะเคลื่อนตัวไปตามกระแสน้ำมากกว่าว่ายไปเอง บางชนิดเพศเมียอาจยึดเกาะกับวัตถุในน้ำ หรือเกาะกันเองเป็นสายจำนวน ๒๐ - ๓๐ ตัว มักออกหาอาหารในเวลากลางวัน อาหารคือ สัตว์น้ำขนาดเล็ก ทั่วโลกพบหอยงวงช้างกระดาษ ๗ ชนิด ในทะเลไทยมีการสำรวจพบ ๓ ชนิด เปลือกมีความสวยงามแปลกตา จึงมักนำมาเป็นของตกแต่งบ้าน บางประเทศนำตัวหอยมาเป็นอาหาร






ยีราฟ

ยีราฟ

     สวัสดีค่ะ วันนี้ดิฉันจะเเนะนำให้ทุกคนรู้จักกับยีราฟกันค่ะ หรือหลายคนอาจรู้จัก
กันเป็นอย่างดี ไปรู้จักกับพวกเขากันเลยค่ะ


ประวัติยีราฟ

ยีราฟ (ชื่อวิทยาศาสตร์Giraffa) เป็นสกุลหนึ่งของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Giraffidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง มีลักษณะเด่น คือ เป็นสัตว์ที่ตัวสูง ขายาว ลำคอยาว มีเขา 1 คู่ ตัวมีสีเหลืองและสีน้ำตาลเข้มเป็นลาย มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา ตัวผู้มีความสูง 4.8 ถึง 5.5 เมตร (16-18 ฟุต) และมีน้ำหนักถึง 200 กิโลกรัม (2,000 ปอนด์) ตัวเมียมีขนาดและความสูงน้อยกว่าเล็กน้อย จัดเป็นสัตว์บกที่มีความสูงที่สุดในโลก
ยีราฟ มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย ไม่ผลัดเขา ที่เขามีขนปกคลุมอยู่ เขาของยีราฟเป็นสิ่งแสดงถึงความแตกต่างระหว่างเพศ เขาของยีราฟตัวผู้ด้านบนมีลักษณะตัดราบเรียบและมีความใหญ่อวบกว่า ขณะที่ของตัวเมียจะมีขนสีดำปกคลุมเห็นเป็นพุ่มชัดเจน มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมเป็นฝูงราว 15-20 ตัว หรือมากกว่านั้น ในทุ่งโล่งร่วมกับสัตว์กินพืชชนิดอื่น ๆ เช่น แอนทิโลปม้าลาย หรือนกกระจอกเทศ เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 3 ปีครึ่ง ตั้งท้องนาน 420-461 วัน ลูกยีราฟหย่านมเมื่ออายุได้ 10 เดือน เมื่อคลอดออกมาแล้วจะสามารถยืนและเดินได้ภายในเวลาไม่นานเหมือนสัตว์กีบคู่ทั่วไป และวิ่งได้ภายในเวลา 2-3 วัน ตัวเมียมีเต้านมทั้งหมด 4 เต้า ยีราฟจะเป็นสัดทุก ๆ 14 วัน แต่ละครั้งเป็นอยู่ราว 24 ชั่วโมง มีอายุขัยเฉลี่ย 20-30 ปี
ลักษณะพิเศษ
ด้วยความที่เป็นสัตว์ตัวสูง ยีราฟจำเป็นต้องมีหัวใจขนาดใหญ่เพื่อหมุนสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงสมอง ยีราฟสามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงสมองได้มากกว่ามนุษย์ถึง 3 เท่า เพื่อไปเลี้ยงสมองที่อยู่สูงขึ้นไปประมาณ 8 ฟุต เสมือนกับปั๊มน้ำที่สูบน้ำขึ้นไปยังตึกสูง หัวใจของยีราฟหนักประมาณ 10 กิโลกรัม ระบบไหลเวียนโลหิตจึงเป็นแบบพิเศษ เรียกว่า "Rete mirabile" ช่วยป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากการที่เลือดไปเลี้ยงสมองมากเกินไปเวลายีราฟก้มตัวดื่มน้ำ ระบบไหลเวียนเลือดพิเศษนี้จึงเปรียบเสมือนวาล์วปิดเปิดน้ำ 
ยีราฟ เป็นสัตว์ที่กินพืช กินได้ทั้งหญ้าที่ขึ้นอยู่กับพื้น และพุ่มไม้สูง ๆ โดยเฉพาะพุ่มไม้ประเภทอาเคเชียหรือกระถินณรงค์ที่มีหนามแหลม มีรสฝาด และมีพิษ แต่ยีราฟก็สามารถกินได้อย่างไม่มีปัญหา เพราะมีลิ้นที่ยาวถึง 45-47 เซนติเมตร และมีความหนาสาก ใช้ตวัดกินได้โดยไม่ได้รับอันตราย และทนทานต่อสารพิษได้ในระดับหนึ่งแต่เมื่อยีราฟจะดื่มน้ำหรือกินอาหารที่อยู่พื้นล่าง ต้องถ่างขาทั้งคู่หน้าออก และก้มคอลง เพราะมีกระดูกที่ข้อต่อต้นคอเพียง 7 ข้อเท่านั้น นับเป็นช่วงที่ยีราฟจะได้รับอันตรายจากสัตว์กินเนื้อที่บุกจู่โจมได้ เพราะเป็นช่วงที่อยู่ในท่าที่ไม่คล่องตัว วัน ๆ หนึ่งยีราฟจะกินอาหารเฉลี่ยวันละ 20-30 กิโลกรัม ขณะที่นอนหลับในท่ายืนเพียงวันละ 2 นาที-2 ชั่วโมงเท่านั้น ยีราฟเมื่อวิ่ง จะวิ่งได้ไม่นานนักเนื่องจากหัวใจจะสูบฉีดเลือดอย่างหนัก และเมื่อวิ่งจะต่างจากสัตว์ชนิดอื่น ๆ เพราะทั้งขาหลังและขาหน้า ที่อยู่ข้างเดียวกัน จะยกขึ้นลงพร้อม ๆ กัน จึงมีลักษณะการวิ่งแบบควบกระโดดโคลงเคลงไปมา และคอที่ยาวก็จะมีอาการแกว่งไกวไปมาด้วย 
แม้จะเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ แต่ยีราฟก็ยังถูกคุกคามจากสัตว์กินเนื้อได้ เช่น สิงโต หรือไฮยีนา ยีราฟมีวิธีการป้องกันตัวคือ การเตะ จากขาหลังที่ทรงพลัง ซึ่งทำให้สิงโตได้รับบาดเจ็บได้ สิงโตจึงไม่ค่อยโจมตียีราฟตัวที่โตเต็มที่ แต่จะเล็งไปยังลูกยีราฟมากกว่า
คอของยีราฟประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่แข็งแกร่งยึดติดกับบริเวณหัวไหล่ คอของยีราฟจึงไม่ห้อยตกลงมา ซึ่งคอของยีราฟนอกจากจะใช้เพื่อการดำรงชีวิตทั่วไป ยังมีส่วนสำคัญในพฤติกรรมทางสังคมเช่นกัน ยีราฟตัวผู้จะเข้าต่อสู้โดยใช้คอถูหรือฟาดกับยีราฟตัวอื่นด้วยความรุนแรง ซึ่งอาจถึงขั้นบาดเจ็บสาหัสหรือตายได้ เพื่อจะแสดงความเป็นจ่าฝูง และใช้เกี้ยวพาราสีหาคู่เพื่อสืบพันธุ์ด้วย

การจำเเนก
ยีราฟ ยังแบ่งออกเป็นสปีชีส์ได้ทั้งหมด 4 ชนิด จากการลำดับ DNA ซึ่งสรุปได้ว่าทั้ง 4 สายพันธุ์นี้ไม่ได้มีการผสมข้ามสายพันธ์มาแล้วกว่า 1 ถึง 2 ล้านปีแล้ว การสรุปเป็นไปอย่างลงตัวในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยสรุปให้ยีราฟเป็นสกุล ที่ประกอบด้วยยีราฟ 4 ชนิด จากเดิมที่คาดว่ามีเพียงสายพันธุ์เดียว ดังที่ได้ระบุไว้ด้านล่าง
ศัพท์มูลวิทยา
คำว่า "camelopardalis" เป็นศัพท์ภาษาละติน (ที่มีต้นเค้าจากคำศัพท์ใน ภาษากรีก) จากคำว่า "camelos" (อูฐ) กับ "pardalis" (เสือดาว) เนื่องจากลักษณะยีราฟคล้ายกับสัตว์ทั้งสองชนิดดังกล่าว ส่วนในภาษาอังกฤษสมัยกลาง เคยใช้คำว่า "camelopard" เรียก ยีราฟ
ส่วนคำว่า "ยีราฟ" (giraffe) ในภาษาอังกฤษ มีรากศัพท์มาจากภาษาอาหรับ "zarafa"นอกจากนี้แล้ว ยีราฟ ยังถูกใช้เป็นชื่อเรียกกลุ่มดาวฤกษ์กลุ่มหนึ่งด้วย

ความสัมพันธ์กับมนุษย์
ในยุคโบราณ ยีราฟถือเป็นสัตว์ที่ใช้เป็นเครื่องกำนัลหรือบรรณาการแก่กัน โดยมีบันทึกไว้ว่า ในยุคจักรพรรดิหย่งเล่อ แห่งราชวงศ์หมิง การเดินทางโดยเรือรอบโลกของเจิ้งเหอ มีการนำเอายีราฟกลับมาสู่ประเทศจีนในสมัยนั้นด้วย

นัยสำคัญทางวัฒนธรรม

ยีราฟยังได้ปรากฏตัวในแอนิเมชัน โดยรับบทเป็นตัวประกอบใน เดอะ ไลอ้อน คิง และ ดัมโบ้ รวมถึงมีบทบาทที่โดดเด่นในภาพยนตร์ เดอะ ไวล์ด แก็งค์เขาดินซิ่งป่วนป่า และ มาดากัสการ์ ส่วนยีราฟโซฟี เป็นยางกัดที่ได้รับความนิยมตั้งแต่ปี ค.ศ. 1961 และตัวละครที่เป็นยีราฟที่มีชื่อเสียงอื่นๆเป็นตัวนำโชคของ ทอยส์ "อาร์" อัส ที่มีชื่อว่า ยีราฟเจฟฟรีย์[10] นอกจากนี้ ยีราฟยังเป็นสัตว์ประจำชาติของประเทศแทนซาเนีย
ที่มา: ยีราฟ