วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2562

นกกาบบัว

นกกาบบัว

สวัสดีค่ะ วันนี้ดิฉันจะพาทุกคนไปรู้จักกับนกกาบบัวกันค่ะ นกกาบบัวอยู่ในวงศ์นกกระสา หรือหลายคนอาจรู้จักกันอยู่เเล้ว ไปรู้จักพวกเขากันเลยค่ะ



นกกาบบัว / Painted Stork / Mycteria leucocephala

    นกกาบบัว อยู่ในวงศ์นกกระสา Family Ciconliidae สกุลนกกาบบัว Genus Mycteria ชื่อสกุลมาจาก mukter เป็นรากศัพท์ภาษากรีก แปลว่าจมูกหรือลำตัว ( mukterizo ) แปลว่ายกจมูกขึ้น และ ius เป็นรากศัพท์ภาษาละติน แปลว่าคล้ายหรือต่อเนื่อง ความหมายคือ " ปากยาวใหญ่ " นกในสกุลนี้มีปากยาว แบนข้างเล็กน้อย โคนปากกว้าง สันขากรรไกรบนมนและโค้ง ขากรรไกรล่างเว้า รูจมูกเป็นรูปไข่ ตั้งอยู่โคนขากรรไกร หัวและใต้คอไม่มีขนคลุม แต่ท้ายทอยและคอมีขนคลุม ขายาว น่องทางครึ่งบนมีขนคลุม นิ้วยาว , ขนคลุมโตน ขนหางด้านล่างยาวมาก และงอกยาวพ้นขนหาง ทั่วโลกมีนกในสกุลนี้ 4 ชนิด ประเทศไทยพบ 2 ชนิด คือ นกกระสาปากเหลือง ( Milky Stork ) และ นกกาบบัว ( Painted Stork )



   นกกาบบัว ( Painted Stork ) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mycteria leucocephala ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษากรีก คือ leuc หรือ leukos แปลว่าสีขาว และ cephal หรือ kephalos แปลว่าหัว ความหมายคือ " นกที่มีปากยาวใหญ่ หัวมีสีขาว " พบและจำแนกชนิดๆ ได้ครั้งแรกที่ประเทศศรีลังกา ไม่มีการแบ่งเป็น

ชนิดย่อย
ภาพชุดนี้ถ่ายมาจาก สวนสัตว์เปิดเขาเขียว บริเวณต้นไม้หน้ากรงนกใหญ่ 

รูปร่างลักษณะ 
    นกกาบบัว เป็นนกขนาดใหญ่มาก ความยาวจากปลายปากถึงปลายหาง 100 - 102 ซม. ปากยาวตอนปลายปากมักมนและโค้งลงเล็กน้อย หัวเล็ก คอค่อนข้างยาว ปีกกว้างและยาว หางสั้น ขายาว นกทั้งสองเพศสีสันคล้ายกัน นกที่เต็มวัย ปากสีเหลือง ลำตัวสีขาว บริเวณปีกมีแถบสีชาวสลับดำ อก และ ปลายปีกมีแถบสีดำ ขนโคนปีก ขนคลุมขนปีกแถวนอก และ ขนบริเวณตะโพก เป็นสีชมพู ขอบขนแต่ละเส้นเป็นสีขาว ขนชมพูอมขาวนี้ ยาว ออกไปจนถึงตะโพก และ หาง มองดูเผินๆ คล้ายกับ ว่าใครเอาสี ชมพูสดๆ มาแต่งแต้ม ไว้ เป็นที่มาของชื่อสามัญของนกชนิดนี้ ว่า Painted Stork ปากของนกกาบบัว สีเหลือง แกม ส้ม แต่ ตอนโคนปากสีเขียวปนเทา ม่านตาสีเหลือง บริเวณหัว เป็น หนังเปลือยเปล่า สีเหลืองแกมส้ม เช่นเดียวกับปาก ขา และ นิ้วเท้า สีน้ำตาลแกมแดงอ่อนๆ ขาและนิ้วเท้าสีน้ำตาลหรือสีแดง ในฤดูผสมพันธุ์ ผิวหนังบริเวณใบหน้าเป็นสีแดง 




แหล่งอาศัยหากิน 

    ปกติอาศัยหากินเป็นฝูงตามแหล่งน้ำ เช่น บึง หนองน้ำ ขนาดใหญ่ ทุ่งนา หรือชายทะเล ที่เป็นโคลนเลน ห่างไกลจากบ้านคน มันหาอาหาร โดยเดินลุยไปตามแหล่งน้ำ ที่ระดับน้ำไม่ลึกมากนัก อ้าปากเกือบตลอดเวลา ตาคอยจ้องหาเหยื่อในน้ำ เมื่อพบจะใช้ปากงับ แล้วคาบเอาไว้ สักพักหนึ่งจึงเงยหัวขึ้นเล็กน้อย อ้าปากกว้างขึ้นแล้วกลืนเหยื่อลงไปทั้งตัว บางครั้งมันจะ เดิน ไปตามทุ่งหญ้าเพื่อจิกแมลง ตัวหนอน เมื่ออิ่มแล้วมันมักยืนขาเดียว พักผ่อน ใช้ปากไซ้ขน หรือ กางปีกผึ่งแดด

   อาหาร นกกาบบัว กินสัตว์น้ำเป็นส่วนใหญ่ชอบเดินหาอาหารพวกปลา กบ เขียด ลูกปู ปลา กุ้ง หอย นอกจากนี้ยังกิน แมลง และ ตัวอ่อนของแมลง 

ฤดูผสมพันธุ์ทำรังวางไข่ 
    ตามปกติเรามักไม่ค่อยพบเห็นนกกาบบัวครั้งละหลายๆตัว นอกจากใน ฤดูผสมพันธุ์ ซึ่ง นกจะพากันมาทำรังวางไข่ บนต้นไม้ต้นเดียวกัน หรือ ต้นไม้ ใกล้ๆกัน นกกาบบัวผสมพันธุ์ ในช่วงฤดูหนาวต่อฤดูร้อน อยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน เป็นนกผัวเดียวเมียเดียว ตลอดฤดูผสมพันธุ์ ซึ่งอาจ ตลอดชีวิตก็ได้ มักทำรังรวมกันเป็นกลุ่ม บนยอดไม้สูงใหญ่ที่ขึ้นใกล้แหล่งน้ำหรืออยู่ในแหล่งน้ำ เช่น ต้นยางนา ต้นเทียะ ต้นกระทุ่มน้ำ เป็นต้น ก่อสร้างรัง มันจะจับคู่และเกี้ยวพาราสีกันด้วยการหันหน้าเข้าหากัน ผงกหัวพร้อมกับ ขยับขากกรรไกรให้กระทบกันจนเกิดเสียงดัง บางครั้งก็ใช้ปากกระทบกัน จากนั้นมันจะผสมพันธุ์กัน แล้วนกทั้งสองเพศจะช่วยกันหาวัสดุ เลือกสถานที่ และสร้างรัง

    รังเป็นแบบง่ายๆ สร้างแบบหยาบๆ โดยการนำกิ่งไม้ทั้งสดและแห้งจากต้นที่สร้างรังและจากต้นอื่นมาวางซ้อนกันบนยอดไม้ กิ่งไม้ใช้ทั้งกิ่งสด และกิ่งแห้ง แล้วทำแอ่งตรงกลางเพื่อรองรับไข่ โดยทั่วไปรังมีเส้นผ่าศูนย์กลางขอบนอก ประมาณ 50 - 60 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางขอบใน 35 -40 ซม. แอ่งตรงกลางลึก 10 -15 ซม. ปกติใช้เวลาสร้างรังราว 2 - 3 วัน มันมักเสริมรังเสมอ เมื่อวัสดุเก่าผุพัง หรือ เมื่อมีจำนวนไข่เพิ่มขึ้น ระหว่างสร้างรัง มันจะผสมพันธุ์เรื่อยๆ เมื่ออออกไข่ครบจำนวนแล้ว จึงหยุด

    ไข่มีด้านหนึ่งป้าน หรือ ใหญ่และเรียวไปยังอีกด้านหนึ่ง เปลือกไข่สีออกเขียว หรือสีขาวด้านๆ ไม่เป็นมันเงา ไม่มีจุดหรือลวดลายใดๆ แต่บางครั้งอาจมีขีดประ หรือ จุดเล็กๆ สีน้ำตาล กระจายเ ล็กน้อย ทั่วฟอง ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 46.5 -x 70.8 มม. และมีน้ำหนักเฉลี่ย 75.55 กรัม วางไข่ครอกละ 2 - 6 ฟอง โดยพบ 4 ฟองบ่อยที่สุด ทั้งสองเพศ ผลัดกันฟักไข่ ตั้งแต่ออกไข่ ฟองแรก ใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 30 -31 วัน วันที่แสงแดดแรงจัด กนที่ฟักไข่จะยืนขึ้น เหนือรัง และ กางปีกทั้ง 2 ข้าง ออกเต็มที่หรือ งอที่หัวปีกเล็กน้อย เพื่อระบาย ความร้อนออกจากตัว และเพื่อบังไข่หรือ ลูกนก มิให้ถูกแดดมากเกินไป เมื่อ นกตัวที่มิได้กกไข่กลับมาถึงรัง นกตัวที่กกไข่ จะบินออกไป ทักทายด้วยการ เอาปากไปแตะ กัน ทั้งนกตัวผู้และนกตัวเมีย จะหวงไข่ และ รังของมันมาก จะไม่ยอมทิ้งรังอยู่ตามลำพังเพราะบางครั้ง อาจมีสัตว์ผู้ล่า จำพวก กระรอก เหยี่ยว อีกา ตะกวด นกเอี้ยง นกตะขาบทุ่ง ฯลฯ มาขโมยไข่และลูกนกไปกินได้ 

     ลุกนกแรกเกิดมีผิวหนังเป็นสีชมพู มีขนอุยสีขาวอมเทาปกคลุมลำตัวบางส่วนโดยเฉพาะลำตัวด้านบน หัวและปากสีดำ ขาและนิ้วเท้ายังไม่แข็งแรง พอจะยืนหรือเดินได้ เนื่องจากพ่อแม่นก กกไข่ตั้งแต่ออกไข่ฟองแรก ดังนั้นลูกนกจะฟัก ออกจากไข่ไม่พร้อมกัน ไข่ที่ฟักก่อนจะออกเป็นตัวก่อน ดังนั้นในรังหนึ่งจะมีลูกนกขนาดต่างกันในตอนแรกๆ แต่นานวันเข้าลูกนกจะโตทันกัน และ มีขนาดตัวไร่เรี่ยกัน ในช่วงนี้พ่อแม่ต้องช่วยกันกก ป้องกันแสงแดด ป้องกันภัย และผลัดกันหาอาหารมาป้อน โดยการสำรอกอาหารใส่ปากลูกนก ซึ่งอ้าปากรอรับอยู่ อาหารที่นำมาป้อนลูกนก ส่วนใหญ่คือปลา กบ เขียด แต่เมื่อลูกนกโตพอประมาณแล้ว พ่อแม่จะสำรอกอาหารไว้ที่พื้นรัง ให้ลูกนกจิกกินเอง พ่อแม่จะเลี้ยงดูลูกนก จนกระทั่งลูก แข็งแรง และบินได้ดี ซึงใช้เวลาประมาณ 50 - 60 วัน จากนั้นจะทิ้งรังไป 




การแพร่กระจายพันธุ์ 
    นกกาบบัวมีแหล่งทำรังวางไข่ขนาดใหญ่ อยู่ทางตอนใต้ของปากีสถาน , อินเดีย ( ยกเว้นภาค ตะวันออก เฉียงเหนือ ) , ภาคใต้ของเนปาล , ศรีลังกา , บังคลาเทศ , อาจพบทาง ตอนใต้ของจีนด้วย , ประชากรในฤดูนอกผสมพันธุ์บางส่วนอพยพไปหากินที่ ส่วนอื่นของปากีสถาน , ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย , บังคลาเทศ โดยสมทบกับนกประจำถิ่น ในประเทศนั้นๆ หรือหากินในส่วนอื่นของประเทศที่ปกติไม่พบนกกาบบัวชนิดที่อยู่ประจำถิ่นมาก่อน

    สำหรับเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นนกประจำถิ่นที่พบน้อย และ บางส่วนอพยพย้ายถิ่นหากินตามแหล่งอาหารภายในประเทศด้วย โดยพบในไทย , กัมพูชา , ภาคกลางและภาคใต้ของอันนัม , เขตสัตว์ภูมิสาสตร์โคชินไชน่า , ภาคกลางของเมียนม่าห์ , เป็นนกอพยพนอกฤดูผสมพันธุ์ ทางภาคตะวันตก เฉียงใต้ ภาคกลาง และ ภาคใต้ ของเมียนม่าห์ , เทนเนอซาลิม , ภาคตะวันออกของตังเกี่ย 


ที่มา: นกกาบบัว


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น