วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2562

เก้ง

เก้งหม้อ

    สวัสดีค่ะ วันนี้ดิฉันจะพาทุกคนไปรู้จักกับเก้งกันค่ะ 
หรือหลายคนอาจรู้จักกันดีอยู่เเล้ว เราไปรู้จักกับพวกเขากันเลยค่ะ


ความเป็นมา
เก้ง หรือ อีเก้ง หรือ ฟาน (อังกฤษBarking deer, Muntjac) เป็นกวางขนาดกลางและเล็กจำพวกหนึ่ง ที่อยู่ในวงศ์ย่อย Muntiacinae กระจายพันธุ์อยู่ตั้งแต่อนุทวีปอินเดียประเทศจีนทางตอนใต้ไปจนถึงภูมิภาคอินโดจีน และเกาะต่าง ๆ ในฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย
มีรูปร่างโดยรวมคือ มีขนตามลำตัวสีน้ำตาล อาจมีสีอื่นผสมแตกต่างกันออกไปตามแต่ละชนิด เขามีขนาดเล็กกว่ากวางในสกุลอื่น ใต้ตามีต่อมน้ำตาเห็นได้ชัดเจน เป็นเส้นสีดำเป็นร่องยาว ตัวผู้เมื่อโตเต็มที่จะมีเขี้ยวงอกออกมาจากมุมปาก หางมีขนาดสั้น เวลาตกใจจะร้องว่า "เอิ๊บ ๆ " แล้วกระโดดหนีไป จึงเป็นที่มาของชื่อในภาษาอังกฤษว่า "Barking deer" (กวางเห่า)
เก้งเป็นกวางที่หากินในสภาพภูมิประเทศได้หลากหลาย ทั้ง ป่าดิบ, ทุ่งหญ้า และพื้นที่ที่เป็นป่าเสื่อมโทรมหรือถูกแผ้วถาง เมื่อยังเป็นวัยอ่อน จะมีจุดสีขาวกระจายอยู่ตามลำตัวเหมือนกวางในสกุล Axis
พบในปัจจุบัน ประมาณ 10 ชนิด มีเพียงสกุลเดียว คือ Muntiacus ซึ่งหลายชนิดเป็นสัตว์ที่หายากและมีข้อมูลทางวิชาการอยู่ไม่มาก บางชนิดก็ใกล้จะสูญพันธุ์แล้ว


การอยู่อาศัย
เก้ง เป็นสัตว์กีบที่เห็นได้ง่ายที่สุดชนิดหนึ่งในป่าเมืองไทย รูปร่างแบบกวาง แต่ตัวเล็ก หลังโก่งเล็กน้อย ลำตัวสีน้ำตาลแดง ด้านใต้ซีดและอมเทาเล็กน้อย หางด้านบนสีน้ำตาลเข้ม ด้านล่างสีขาว เก้งตัวผู้มีเขาสั้น ฐานเขาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระโหลกยื่นยาวขึ้นไปเป็นแท่ง มีขนปกคลุม และมีขนสีดำขึ้นตามแนวเขาจนดูเป็นรูปตัววีเมื่อมองด้านหน้าตรง ส่วนปลายเขาสั้น แต่เป็นง่ามเล็ก ๆ แค่สองง่าม ไม่แตกเป็นกิ่งก้านแบบกวาง ผลัดเขาปีละครั้ง ส่วนตัวเมียไม่มีเขาและฐานเขา แต่บนหน้าก็มีขนรูปตัววีเหมือนกัน เก้งตัวที่อายุมากผู้มีเขี้ยวยาวแหลมโค้งโผล่พ้นขากรรไกรออกมา เก้งเวลาเดินจะยกขาสูงทุกก้าวเก้งร้องเสียงคล้ายหมาเห่า แต่ดังมาก จนบางคนที่ได้ยินเมื่อเข้าป่าอาจตกใจคิดว่าเป็นหมาป่าได้ ภาษาอังกฤษจึงชื่อเรียกว่าเก้งอีกชื่อหนึ่งว่า barking deer ซึ่งแปลว่า "กวางเห่า" นั่นเองเก้งหากินได้ทั้งกลางวันและกลางคืน แต่ส่วนใหญ่จะพบตอนเย็นหรือหัวค่ำ และตอนเช้ามืดจนถึงช่วงสาย อดน้ำไม่เก่ง จึงมักอยู่ไม่ไกลจากแหล่งน้ำ อาหารหลักได้แก่ยอดไม้ หน่ออ่อน ใบไม้ ผลไม้ และรวมถึงเปลือกไม้ด้วย ไม่ค่อยกินหญ้า
เขตกระจายพันธุ์ของเก้ง แพร่กระจายในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ ศรีลังกา อินเดีย จีนตอนใต้ พม่า ไทย ลาว ไทย เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย เกาะสุมาตรา เกาะชวา เกาะบอร์เนียว เกาะไหหลำ และหมู่เกาะซุนดาฤดูผสมพันธุ์อยู่ในฤดูหนาว ตั้งแต่พฤศจิกายนถึงมกราคม ตกลูกต้นฤดูฝนพอดี ปกติตกลูกครั้งละหนึ่งตัว ตั้งท้องนานราว 6 เดือน ออกลูกตามใต้พุ่มไม้ ลูกเก้งมีจุดสีขาวตามตัว เมื่ออายุได้ราว 6 เดือน จุดสีขาวนั้นจึงค่อยจางหายไป เก้งผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุได้ 18 เดือน อายุขัยประมาณ 15 ปี


ลักษณะทั่วไป
เก้งหม้อหรือเก้งดำ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในกลุ่มของสัตว์เคี้ยวเอื้อง มีขนาดไล่เลี่ยกับเก้งธรรมดาหรือเล็กกว่าเล็กน้อย ตัวผู้จะมีเขาแบบ Antler เหมือนเขากวาง โดยมีการผลัดเขาทุกปี เขาสั้นมี 2 กิ่ง กิ่งหน้ามีขนาดสั้นกว่ากิ่งหลัง ขนลำตัวของเก้งหม้อมีสีดำเหมือนดินหม้อ ส่วนท้องสีขาว ลักษณะเด่น ของเก้งหม้อคือ มีหางสั้น ขนปกคลุมหางด้านบนสีดำหางด้านล่างสีขาว ขนที่ขาเหนือกีบขึ้นมาสีดำ มีการกระจายพันธุ์แถบเทือกเขาตระนาวศรีในไทย และพม่า

ที่มา: เก้งหม้อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น