ชะมด
สวัสดีค่ะ วันนี้ดิฉันจะพาทุกคนไปรู้จักกับตัวชะมดกันค่ะ ตัวชะมดมีรูปร่างโดยรวม
คือ ใบหน้าแหลม รูปร่างเพรียว ตัวมีสีเทาหรือนํ้าตาล มีลายจุดสีดำตามยาวทั่วตัว หางและขนหางยาวมีลายเป็นปล้อง สามารถยืดหดเล็บได้เหมือนแมว หรือหลายคนอาจคุ้นเคยกันดี
ไปรู้จักกับพวกเขากันเลยค่ะ
ความเป็นมา
ชะมด หรือ เห็นอ้ม ในภาษาอีสาน (อังกฤษ: civet) เป็นชื่อสามัญที่ใช้เรียกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับสัตว์กินเนื้อจำพวกหนึ่ง ที่อยู่ในวงศ์ Viverridae (ในอดีตเคยจัดให้พังพอนอยู่ในวงศ์นี้ด้วย) โดยคำว่า "ชะมด" ในภาษาไทย สันนิษฐานว่ามาจากคำในภาษาอาหรับว่า "อัซซะบาด" (الزباد)
ชะมดมีรูปร่างโดยรวม คือ ใบหน้าแหลม รูปร่างเพรียว ตัวมีสีเทาหรือนํ้าตาล มีลายจุดสีดำตามยาวทั่วตัว หางและขนหางยาวมีลายเป็นปล้อง สามารถยืดหดเล็บได้เหมือนแมว มักออกหากินในเวลากลางคืน เป็นสัตว์ที่กินอาหารได้หลากหลายทั้งพืชและสัตว์ เป็นสัตว์ที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพภูมิประเทศได้หลากหลาย โดยสามารถอาศัยอยู่ในชายป่าใกล้ชุมชนหรือแหล่งเกษตรกรรมของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี รวมถึงพื้นที่ชุ่มน้ำคล้ายนากด้วยในบางชนิด มีความปราดเปรียวว่องไว หากินทั้งทั้งบนพื้นดินและบนต้นไม้ บางครั้งอาจเข้ามาขโมยเป็ดไก่หรือธัญพืชไปกินเป็นอาหาร โดยในบางชนิดในแอฟริกายังมีพฤติกรรมขโมยกินน้ำตาลสดจากกระบอกที่มีผู้ไปรองเก็บมาจากงวงตาลได้อีกด้วย ซึ่งน้ำตาลนี้จะนำไปหมักเพื่อทำน้ำตาลเมา
การกระจายพันธุ์
เป็นสัตว์ที่กระจายพันธุ์ในทวีปเอเชีย ในภูมิภาคเอเชียใต้จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียตะวันออก รวมถึงทวีปแอฟริกาด้วย ในประเทศไทยพบด้วยกันหลายชนิด
ลักษณะเด่น
ลักษณะเด่นอีกประการของชะมด คือ มีต่อมกลิ่นอยู่บริเวณใต้โคนหางใกล้กับรูทวารและอวัยวะเพศ ต่อมนี้มีหน้าที่ผลิตสารเคมีกลิ่นฉุนที่มีลักษณะคล้ายน้ำมัน ซึ่งสามารถนำไปใช้ผลิตเป็นหัวน้ำหอมหรือยาสมุนไพรได้ โดยเลี้ยงไว้ในกรงและปักเสาไม้ไว้ที่กลางกรง ชะมดจะเอาต่อมเช็ดสารเคมีนี้ทิ้งไว้ นานวันเข้าจะจับตัวเป็นก้อน จึงขูดออกไปขาย ซึ่งมีสนนราคาขายแพงมาก โดยผลิตภัณฑ์ของชะมดที่มีชื่อเสียงมาแต่โบราณอยู่ที่เมืองอาเจะฮ์ในอินโดนีเซีย
การกินอาหาร
นอกจากนี้ ชะมดในสกุล Paradoxurus หรืออีเห็นในบางประเทศ เช่น อินโดนีเซีย มีการเลี้ยงชะมดในสกุลนี้ให้กินเมล็ดกาแฟ เมื่อถ่ายมูลออกมาแล้ว เมล็ดกาแฟจะไม่ถูกย่อยสลาย จะออกมาเป็นเมล็ดเหมือนเดิม จากนั้นจะนำไปล้างและคั่วเป็นกาแฟสำหรับจำหน่าย ซึ่งกาแฟลักษณะนี้เรียกว่า "กาแฟขี้ชะมด" เป็นกาแฟที่มีรสชาติกลมกล่อม หอมหวาน อร่อยกว่ากาแฟทั่วไป จึงมีราคาขายที่แพงกว่ากาแฟปกติทั่วไป ทั้งนี้เนื่องจากในระบบย่อยอาหารของอีเห็นมีเอนไซม์ที่ทำให้เมล็ดกาแฟมีรสชาติที่หอมหวาน
สำหรับในประเทศไทย การเลี้ยงชะมดหรืออีเห็นเพื่อใช้ประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ 2 ประการนี้ ยังอยู่ในภาวะเริ่มต้น โดยสวนสัตว์เชียงใหม่เพิ่งสามารถที่จะเพาะขยายพันธุ์ชะมดเช็ดซึ่งเป็นชะมดขนาดเล็กให้ขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้เป็นที่สำเร็จ
การเลี้ยงชะมด
จุดเริ่มต้นของชะมดเช็ดสำหรับผมนั้นเริ่มจากน้ำปรุง แต่อยากจะเล่าย้อนไปสักหน่อยว่าในช่วงกลางปีที่แล้วได้มีโอกาสร่วมทำจุลนิพนธ์กับน้องๆ นักศึกษาที่มหาลัยศิลปากร ในส่วนของน้ำหอมนั้นเราแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างไม่มีปัญหา แต่จุลนิพนธ์ของน้องๆ ถูกตีกลับจากอาจารย์ที่ปรึกษาเนื่องจากว่าทางอาจารย์อยากให้นำเสนอความเป็นไทยและการพัฒนาน้ำหอมไทยหรือน้ำปรุง ขอยอมรับว่าในตอนนั้นผมมีความรู้เรื่องน้ำปรุงแค่งูๆ ปลาๆ อาจจะไม่ได้มากกว่าท่านอื่นๆ เท่าไร การให้ข้อมูลจึงค่อนข้างจำกัดและดูจะไม่ค่อยเป็นประโยชน์ให้กับจุลนิพนธ์ของน้องๆ นักศึกษาเลย ถึงแม้ว่าน้องๆ จะพยายามจนปิดเล่มได้และกล่าวขอบคุณ แต่เรื่องนี้ก็หลอกหลอนใจผมตลอดมา
ผมไปซะสุดแคว้นหลายดินแดนแต่กลับลืมเรื่องใกล้ตัวไป ยิ่งได้มาฟังคลิปจากอาจารย์ ไศลเพชร ศรีสุวรรณ แล้วยิ่งสะอึก อาจารย์กล่าวในตอนท้ายของคลิปเรื่องน้ำปรุงไว้ว่า
“อยากให้เด็กรุ่นใหม่ตระหนักไว้ เราเกิดมาบนแผ่นดิน รื้อฟื้นภูมิปัญญาเก่าจากบรรพบุรุษขึ้นมาบ้าง แล้วก็สร้างสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ไม่ใช่รอกินแต่สมบัติบรรพบุรุษถ้าบุญเก่าหมดแล้วจะทำยังไง? เราต้องสร้างสิ่งใหม่ขึ้นมาเพื่อคนรุ่นหลังต่อไป ใครเห็นค่าไม่เห็นค่าช่างมัน ให้สู้ต่อไปแล้ววันหนึ่งประเทศชาติจะขอบคุณเรา”
การอยู่อาศัย
พูดถึงน้ำปรุงแล้วเป็นเรื่องยากอยู่เหมือนกันที่จะสืบค้นตำรับที่อธิบายได้ชัดเจน การสืบทอดล้วนแล้วแต่เป็นการบอกเล่าต่อๆ กันมาแต่หากย้อนถามเหตุผลว่าทำไมต้องเป็นแบบนั้นแบบนี้ก็ยากที่จะตอบ แต่ละวังแต่ละสำนักก็จะมีขนบยึดถือไม่เหมือนกันอีก ทว่าโดยรวมแล้วก็จะมีแก่นเหมือนๆ กันคือการร่ำ การลอยดอกไม้ แต่จะดอกอะไรบ้างนั้นก็สุดแล้วแต่จะสรรหา ทีนี้พูดถึงเรื่องการตรึงกลิ่นในสมัยก่อน ไม่ว่าจะเป็นทางฝั่งฟากยุโรปประเทศหรือทางฝั่งบ้านเราก็ดีสารตรึงกลิ่นที่นิยมใช้จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสัตว์ซะเป็นส่วนใหญ่
เรารู้จักกันเป็นอย่างดีคือมักส์ที่ได้จากกวางมักส์ซึ่งไม่ใช่สัตว์พื้นถิ่นบ้านเรา เมืองไทยเรานั้นแรกเริ่มเดิมทีจะใช้สารตรึงกลิ่นที่ได้จากชะมดเช็ดเสียมากกว่า ซึ่งชะมดเช็ดเป็นสัตว์ป่าที่พบได้ทั่วไปตามป่าในประเทศไทยแถมกลิ่นที่ได้จากไขชะมดเช็ดยังหอมเย้ายวนเข้ากันได้ดีกับกลิ่นดอกไม้ไทยอีกด้วย
ที่มา: ชะมด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น