โคนม
สวัสดีค่ะ วันนี้ดิฉันจะพาทุกคนไปรู้จักกับโคนมกันค่ะ หรือหลายคนอาจเคยเลี้ยง หรือรู้จักกันเป็นอย่างดีอยู่เเล้วค่ะ ไปรู้จักกับพวกเขากันเลยค่ะ
การเลี้ยงโคนม
การเลี้ยงโคนมเป็นการเลี้ยงเพื่อการผลิตน้ำนม ดังนั้นโคนมจึงมักมีลักษณะลำตัวเป็นรูปสามเหลี่ยม ปั้นท้ายใหญ่ ฐานนมกว้าง ไม่นิยมเลี้ยงเพศผู้เนื่องจากมีปริมาณการผสมเที่ยมของรัฐปัจจุบันกรมปศุสัตว์ส่งเสริมโคนมพันธุ์ โฮสไตน์ฟรีเซี่ยน (พันธุขาว-ดำ) ซึ่งมีลักษณะเด่นที่ต้องสังเกตว่าเป็นแม่ที่ดีหรือไม่
1. ส่วนหัว หัว คอ ไหล่
หัวได้สัดส่วนกับร่างกาย จมูำกและรูจมูกใหญ่ หน้าผากกว้างเป็นแอ่งเล็กน้อย หู ขนาดปานกลาง คอบางยาวเรียว ไหล่แข็งแรงไม่กางแบะออก
2. หลังและบั้นท้าย
สันหลังและบั้นท้ายแข็งแรง ช่วงไหล่ถึงสะโพกเป็นแนวตรง กระดูกสันหลังเด่นชัด สะโพกก้นกบและโคนหางอยู่ในระดับเดียวกับแนวสันหลังบั้นท้ายกว้างปุ่มเชิงกราน ปุ่มก้นกบและปุ่มสะโพกมีเนื้อเรียบเต็ม
3. ขาและกีบ
ขาหน้าตรงตั้งฉากกับพื้นและขนานกับขาหลังเมื่อมองจากด้านท้ายจะตั้งตรงโคนขาหลังกว้าง เข่าไม่งอเข้าหากัน ขาหลังเมื่อมองทางด้านข้างข้อเกือบตั้งฉาก กีบเท้าชี้ไปข้างหน้า สั้นกลม วางได้ระดับกับพื้น กับเอียงเล็กน้อยและแข็งแรง
4. ลำตัว ลำตัวนับจากไหล่ถึงก้นกบต้องยาว
5. ช่องท้อง ช่วงท้องยาวและลึก มีซี่โครงป้องกันแข็งแรง
6. รอบอก รอบอกใหญ่และลึก ซี่โครงตอนหน้าอกกว้าง คอไหล่และสบักเต็มช่วงอกกว้าง
5. ช่องท้อง ช่วงท้องยาวและลึก มีซี่โครงป้องกันแข็งแรง
6. รอบอก รอบอกใหญ่และลึก ซี่โครงตอนหน้าอกกว้าง คอไหล่และสบักเต็มช่วงอกกว้าง
7. เต้านม เต้านมยาวพอสมควร มีความกว้า่งสม่ำเสมอตั้งแต่ช่วงหน้าถึงหลัง ส่วนหน้าเกาะยึดติดกับพื้นท้อง มีเส้นเลือดขดนูนเด่นชัด เต้านมขนาดเท่ากัน ขนาดปานกลาง อยู่สูงกว่าระดับข้อเข่า มีรอยแบ่งชัดเจน มีความยืดหยุ่นมาก จะยุบแฟบเวลารีดนมออกหมดแล้ว
8. หัวนม
หัวนมมีขนาดเท่ากัน ยาวและอวบปานกลาง รูปกลมยาวสม่ำเสมอหัวนมตั้งเป็นมุมจตุรัสและห่างกันพอสมควร
การคัดแม่โคนม
การผสมพันธุ์
1. โค ควรมีอายุ 2 ปีขึ้นไป และแสดงอาการเป็นสัดครั้งที่ 2
2. ระยะการเป็นสัดประมาณ 4 ชั่วโมง ถ้าต้องการผสมเทียม ควรผสมเมื่อสังเกตการณ์
3. เป็นสัดในเวลาชั่วโมงที่ 12 - 18 ถ้าโคไม่ได้รับการผสมพันธุ์ จะกลับเป็นสัดภายใน 18 - 21 วัีนและหลังคลอดลูกแล้ว ควรผสมพันธุ์เมื่อคลอดได้ 60 - 90 วัน
4. โคจะตั้งท้องนานประมาณ 285 วัน
อาการเป็นสัดในโค
เพศเมียจะร้องบ่อย ๆ ตาเบิกกว้างไม่ค่อยกินหญ้าและอาหาร กระโดดขี่เพื่อน ๆ หรือลูกตัวเอง ยืนนิ่งให้ตัวอื่นขี่ดมอวัยวะเพศและให้ต้วอื่นขี่ อวัยวะเพศจะบวมแดงมีน้ำเมือกใสไหลออกมา ถ้าสังเกตเห็นอาการตอนเช้า ๆ ควรได้ผสมในตอนบ่ายวันนั้นถ้าเป็นตอนเย็นควรได้ผสมก่อนเที่ยงวันรุ่งขึ้น
การดูแลแม่โคนม
1. หยุดรีดนมเมื่อแม่โคนมตั้งท้องได้ 10 เดือนแยกแม่โคท้องแก่ออกจากฝูง เพื่อให้แม่โคผ่อนคลายไม่ถูกรบกวน
2. อาการใกล้คลอด ได้แก่ นมคัดเต้า อวัยวะเพศบวมโต ลุกและนอนบ่อยมองท้องตัวเองยกหางและปัสสาวะบ่อย
3. ปูฟางข้าวหรือหญ้าแห้งเืพื่อให้ลูกโครองนอน
4. สังเกตถุงน้ำคล่ำ เมื่อแตกแล้ว ลูกโคต้องคลอดออกมาภายใน 15 นาที หากผิดปกติรีบแก้ไข
5. รีดนมน้ำเหลืองให้ลูกโคกิน หลังจากลูกโคแห้งแล้ว นมที่รีดได้ 7 วันแรกควรให้ลูกโคกินให้หมด ไม่เหมาะสำหรับส่งขาย
6. ให้อาหารข้นตามปริมาณน้ำนมที่ได้ คือ น้ำนม 2 กก. จะให้อาหารข้น 1 กก.
การดูแลลูกโคนม
2. อายุ 2 อาทิตย์ เริ่มฝึกให้ลูกโคกินอาหารข้นไปพร้อมกับน้ำนมสด
3. อายุ 3 อาทิตย์เริ่มฝึกให้ลูกโคกินหญ้า ถ่ายพญาธิ ทำลายปุ่มเขา
4. อายุ 6 เดือนหย่านมและฉีดวัคซีนป้องกันโรค
แหล่งอาหารโค
1. อาหารหลักคุณภาพสูง เป็นอาหารที่สัตว์กินแล้วย่อยได้มาก เช่น หญ้าสดทุกชนิด เศษพืชที่ยังสดอยู่ รำข้าว เศษมันสำปะหลัง กากน้ำตาลเป็นต้น หากสัตว์กินมากเกินไป อาจท้องเสียแต่ไม่อันตราย
2. อาหารหลักคุณภาพต่ำ เป็นอาหารที่สัตว์กินแล้วย่อยได้น้อย มีกากเหลือทางอุจจาระมาก เช่น ฟางข้าว ซังข้าวโพด ชานอ้อยแ่ละเศษพืชแห้งทุกชนิด สัตว์จะโตช้าผลผลิตน้อยลงน้ำหนักลด
อาหารสร้างเนื้อ
1. ใบถั่วอาหารสัตว์ เช่น ถั่วฮามาต้า ถั่วลาย ถั่วลิสง ใบกระถิน แคไทย แคฝรั่ง ใบถั่วอื่น ๆ ควรระวังเวลานำไปเลี้ยง ถ้าใบถั่วยังสด่และอ่อนอยู่ สัตว์ทอ้งอืดง่ายต้องกินพร้อมกับฟางหรือหญ้าหรือผึ่งให้ใบถั่วเหี่ยวก่อน
2. ใบพืชอาหารสัตว์โปรตีนสูง เช่นใบมันสำปะหลัง ใบทองหลาง ใบมะขามเทศ ใบประดู่ ขนุน มะม่วง ใบตอง เป็นต้น สำหรับใบมันสำปะหลังสดจะเป็นพิษ ก่อนสัตว์กินควรนำไปตากให้แห้งก่อน
3. อาหารข้นโปรตีนสูง เช่น รำข้าว กากมะพร้าว กากถั่วเหลือง กากเมล็ดนุ่น กากน้ำมันอื่น ๆ ปลาป่น ขนไก่ป่น ปกติไม่ต้องใช้ถ้าหากไม่จำเป็นใช้จำนวนน้อย เช่น ให้ลูกโค
4. อาหารเสริมโปรตีนราคาถูก เช่น ปุ๋ยยูเรีย และสารเคมีบางชนิด เป็นสารที่ช่วยให้จุลินทรีย์ในกระเพาะอาหารสัตว์สร้างโปรตีน ต้องใช้ความระมัดระวังเพราะเป็นพิษต่อสัตว์ได้
เกลือแร่และวิตตามิน
พืชอาหารสัตว์
1. หญ้ารูซี่ ปลูกได้ในที่แห้งแล้ง ไม่ชอบที่น้ำท่วมขัง มีโปรตีน 8 - 9 % เหมาะสำหรับตัดให้กินหรือปล่อยแทะเล็ม ปลูกด้วยการใช้เมล็ด แยกกอ
2. หญ้ากินนี ปลูกได้ในที่ร่มเป็นหญ้าที่ต้องการน้ำมาก แต่ไม่ชอบที่ลุ่มโปรตีน 9 - 10 % เหมาะสำหรับตัดให้กิน ปลูกด้วยการใช้เมล็ดแยกกอ
3. หญ้าเนเปีย ปลูกได้ในที่ซื้นแฉะ ชอบน้ำมาก มีโปรตีน 8 - 10 % เหมาะสำหรับตัดให้กิน ปลูกด้วยการใช้่ท่อนพันธุ์
4. หญ้าขน ปลูกในที่ลุ่มหรือท้องนาที่สามารถระบายน้ำได ้มีโปรตีน 9 - 10 % เหมาะสำหรับตัดให้กิน ปลูกด้วยการใช้ท่อนพันธุ์
5. ถั่วฮามาต้า ปลูกได้ในที่แห้งแล้งดินลูกรัง หรือปลูกผสมแปลงหญ้า เพื่อเพิ่มโปรตีน มีโปรตีน 16 - 18 % ปลูกด้วยการใช้เมล็ด
6. ถั่วคาวาลเคต ปลูกได้ในที่ดินทรายและดินเหนียวมีโปรตีน 14 - 18 % เหมาะาสำหรับทำฟ่อนแห้ง ปลูกด้วยการใช้เมล็ด
การทำฟางปรุงแต่ง
1. นำผ้าพลาสติกปูพื้นเพื่อกันน้ำ
2. นำฟางแห้งจำนวน 100 กก. วางแผ่บนผ้าพลาสติก
3. ใช้ปุ๋ยยูเรียสูตร 46 - 0 - 0 จำนวน 6 กก. มาผสมน้ำ 100 ลิตร รดบนฟางแห้งให้ทั่ว
4. ทำชั้นต่อไปจำนวน 5 ชั้น
5. นำผ้าพลาสติกมาคลุมกองฟางให้มิดหมักไว้ 21 วัน
6. ก่อนนำไปให้โคกินต้องผึ่งลม 1 ชั่วโมง เพื่อให้แอมโมเนียละเหยไปเสียก่อน
การทำหญ้าหมัก
1. นำต้นหญ้าที่มีลักษณะอวบน้ำ เช่น หญ้าเนเปีย ต้นข้าวโพด ต้นข้าวฟ่าง มาสับขนาด 2 - 3 นิ้ว
2. นำมาอัดในถุงพลาสติกแล้วเหยียบไล่อากาศออกให้หมด มัดปากถุงให้แน่น
3. นำไปเก็บในที่ร่มหมัก 21 วัน ก็ใช้ได้แล้วหรือเก็บไว้กินในฤดูแล้ง
ที่มา: โคนม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น