วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

นกเค้าเเมวหิมะ

นกเค้าเเมวหิมะ

      สวัสดีค่ะ วันนี้ดิฉันจะเเนะนำให้ทุกคนรู้จักกับนกเค้าเเมวหิมะกันค่ะ หรือหลายคนอาจรู้จักกันอยู่เเล้ว ซึ่งเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในหิมะ ไปรู้จักกับพวกเขากันเลยค่ะ


นกเค้าเเมวหิมะ
   มีลักษณะเด่น คือ ขนตามลำตัวเป็นสีขาวล้วนสะอาด มีหัวกลมสีเหลือง ดวงตากลมโตสีดำ, สีฟ้า หรือสีเหลือง เท้ามีขนมาก ขนตามลำตัวโดดเด่นด้วยสีขาวแต้มด้วยบางส่วนสีดำเป็นแถบแนวนอนหรือลาก
ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ มีขนาดความยาวลำตัวประมาณ 51–68.5 เซนติเมตร (20–27 นิ้ว) ในขณะที่ตัวเมียประมาณ 66 เซนติเมตร (26 นิ้ว) ความยาวปีกประมาณ 137–164 เซนติเมตร (54–65 นิ้ว) เมื่อกางออก 137–164 เซนติเมตร (54–65 นิ้ว) น้ำหนักประมาณ 1,134–2,000 กรัม (40–70 ออนซ์) ตัวเมียประมาณ 1,707 กรัม (60 ออนซ์) ตัวผู้ประมาณ 1,612 กรัม (57 ออนซ์)  จัดเป็นนกเค้าแมวที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของโลก
นกเค้าแมวหิมะ พบกระจายพันธุ์ในแถบซีกโลกทางตอนเหนือ เช่น เขตทุนดราทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือและยุโรปตอนเหนือบริเวณใกล้กับขั้วโลกเหนือ, วงกลมอาร์กติก หรือสแกนดิเนเวีย หากินช่วงกลางวันตั้งแต่เช้าถึงค่ำ มีความแข็งแรงและมั่นคงบินมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว บินสั้น ๆ ใกล้พื้นดิน นกเค้าแมวหิมะมีความก้าวร้าวเมื่อทำรังวางไข่ นกเค้าแมวหิมะทำรังบนพื้นดินที่เป็นทุ่งหญ้าในช่วงฤดูร้อนของเขตอาร์กติก วางไข่ครั้งละ 6–8 หรือ 10 ฟอง โดยไข่ฟองแรกจะฟักเป็นตัวก่อนฟองสุดท้ายประมาณ 2 สัปดาห์ ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะช่วยกันดูแลไข่และลูกนก พ่อแม่นกจะฉีกเหยื่อเป็นชิ้น ๆ ก่อนจะป้อนให้ จนกว่าลูกนกจะโตพอแล้วจึงจะกลืนกินทั้งตัว จนกระทั่งลูกนกอายุได้ 6 สัปดาห์จึงพอจะช่วยเหลือตัวเองได้ นกเค้าแมวหิมะมีพฤติกรรมการเลี้ยงลูกนกต่างจากนกล่าเหยื่อชนิดอื่น ๆ ตรงที่จะดูแลลูกนกตัวที่อ่อนแอที่สุดด้วยโดยไม่ทอดทิ้ง เมื่อลูกนกค่อย ๆ โตขึ้น จะมีขนสีเทาขึ้นปกคลุมลำตัว และพ่อแม่นกจะทิ้งลูกนกให้อยู่ตามลำพังมากขึ้น ลูกนกเค้าแมวหิมะจะเริ่มหัดบินก่อนที่จะเข้าสู่ฤดูหนาว


พฤติกรรม

มีพฤติกรรมในการล่าเหยื่อด้วยการเฝ้ารอ หรือกระทั่งติดตามเหยื่อ ส่วนใหญ่มักล่าเหยื่อในเวลากลางวัน เหยื่อมีทั้งถูกจับบนพื้นและในอากาศ เหยื่อขนาดเล็กจะถูกกลืนทั้งหมด เหยื่อขนาดใหญ่จะถูกฉีกเป็นชิ้นใหญ่ กินอาหารจำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหรือสัตว์เลือดอุ่นขนาดเล็ก เช่น นก, หนูเลมมิ่ง, กระรอก, กระต่าย, เป็ด, ห่าน หรือแม้กระทั่งลูกของหมาป่าหรือหมาจิ้งจอกขนาดเล็ก แต่จะไม่ล่าใกล้รังของนกชนิดอื่น แต่ขณะเดียวกันไข่นกหรือลูกนกก็ถูกรังควาญจากหมาป่าหรือหมาจิ้งจอกด้วยเช่นกัน

ขนาด

      ขนาด 51-68.5 cm (20-27″) average female 66 m (26″ inches), male 59 cm (23″) ขนาดความยาว 51-68.5 cm (20-27″) 66 cm ตัวเมี่ย (26 นิ้ว), 59 cm ตัวผู้(23″)
ปีกยาว 137-164 cm (54-65″) กางปีก 137 – 164 cm(54-65)
 น้ำหนัก 1134-2000 g (40-70 oz) average female 1707 g (60 oz), male 1612 g (57 oz) น้ำหนัก 1134 – 2000 g (40 – 70 oz) 1707 g ตัวเมียเฉลี่ย (60 oz), ตัวผู้ 1612 g (57 oz) 



นิสัย

    นิสัย : หากินช่วงกลางวันตั้งแต่เช้าถึงค่ำ แข็งแรงและมั่นคงบินมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว บินสั้น ๆ ใกล้พื้นดินนกฮูกหิมะมีความก้าวร้าวเมื่อ ทำรังวางไข่
การล่าสัตว์ และอาหาร : การล่าสัตว์ส่วนใหญ่จะทำการ”นั่งรอ”ล่าเวลากลางวันและล่าในเวลากลางคืนด้วย เหยื่อถูกจับบนพื้นและในอากาศ เหยื่อขนาดเล็กกลืนทั้งหมด เหยื่อขนาดใหญ่ที่ดำเนินฉีกเป็นชิ้นใหญ่ เหยื่อจะหลากหลาย สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กและนก หนู กระรอก กระต่าย สุนัขทุ่งหญ้า นกเป็ด ห่าน นกฮูกหิมะจะล่าไม่ใกล้รังของนกอื่น ๆ

    พฤติกรรมผสมพันธุ์ เริ่มในกลางฤดูหนาวไปจนถึงเดือนมีนาคมและเมษายน ฮูกรัง เฉพาะบนพื้นดินสูง เนินหรือหิน รังเก่านกอินทรีย์เป็นครั้งคราว . รังอาจจะเต็มไปด้วยเศษพืชและขนนก การผสมพันธุ์เกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคม ปกติออกไข่ 5-8 สีขาว อาจมีมากถึง 14 ไในระหว่างปีสัตว์ที่ใช้ฟันแทะตัวเล็ก ฟักไข่ใน 32-34 วัน
พอดีมีสมาชิกไทยเพ็ทออนไลน์ได้แนะนำบทความเข้ามา ผมเลยขอก๊อปบทความที่แนะนำมาให้เพื่อนๆที่สนใจได้อ่านกันนะครับ โดยผู้แนะนำได้อ้างที่มาถึงเว็บตามด้านล่างนี้นะครับ

สุนัขป่าขั้วโลก

สุนัขป่าขั้วโลก

     สวัสดีค่ะ วันนี้ดิฉันจะพาทุกคนไปรู้จักกับสุนัขป่าขั้วโลกกันค่ะ  เขาเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในหิมะ หรือหลายคนอาจรู้จักกันอยู่เเล้ว ไปพบกับพวกเขากันเลยค่ะ

ประวัติ

    ท่ามกลางอากาศที่หนาวเหน็บของดินแดนขั้วโลกเหนือ ชีวิตที่นี่ต่างต้องต่อสู้กับสภาพอากาศที่หนาวเย็น และแร้นแค้น และถ้าหากจะเอ่ยถึงสัตว์นักล่าที่น่าสะพรึงกลัวของขั้วโลกเหนือแล้ว ก็คงไม่พ้นเจ้าหมีขั้วโลกไปได้ แต่นอกจากหมีขั้วโลกแล้ว ยังมีนักล่าอีกประเภทหนึ่งที่หากินอยู่บนแผ่นดินเดียวกัน แต่มีขนาดเล็กกว่าอย่างเทียบไม่ติด มันคือ สุนัขจิ้งจอกขั้วโลก (Arctic Fox)
พวกมันมีถิ่นอาศัยอยู่ในเขตทุนดรา (ทุ่งหญ้ากึ่งแล้งเขตหนาวที่มีหิมะปกคลุม) และพื้นที่บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรอาร์คติก รวมไปจนพื้นที่แพน้ำแข็งขนาดยักษ์ในเขตขั้วโลกเหนือ เชื่อกันว่า สุนัขจิ้งจอกขั้วโลก เป็นหนึ่งในสัตว์ยุคน้ำแข็งเมื่อประมาณ 10,000 ปีมาแล้ว ที่สืบเชื้อสายมาจนถึงปัจจุบัน ในอดีตบรรพบุรุษของพวกมันท่องเที่ยวหากินร่วมสมัยกับช้างแมมมอธ และสัตว์ยุคน้ำแข็งอื่น ๆ
    สุนัขจิ้งจอกขั้วโลก มีสองประเภท คือ จิ้งจอกขาว (White Arctic Fox) ที่อาศัยอยู่ในเขตทุนดราที่เต็มไปด้วยหิมะ พวกมันมีขนสีขาวเพื่อให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม ช่วยให้ล่าเหยื่อได้ง่าย และสามารถพรางตัวจากศัตรูได้ด้วย ส่วนจิ้งจอกฟ้า (Blue Arctic Fox) อาศัยอยู่ในเขตชายผั่งมหาสมุทรอาร์คติก ซึ่งมีโขดหินขรุขระ และมีหิมะน้อยกว่า พวกมันจึงมีขนสีฟ้าอมเทาเพื่อให้ดูกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม


ลักษณะ
     จิ้งจอกขั้วโลกมีใบหน้าทีสั้นกว่าจิ้งจอกชนิดอื่น และมีใบหูที่เล็กเพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อน ขนของมันฟูนุ่ม และเป็นที่นิยมในวงการเสื้อขนสัตว์ในอดีต พวกมันจึงถูกไล่ล่าเป็นจำนวนมาก แต่ในปัจจุบันได้มีการนำจิ้งจอกมาเพาะเลี้ยงในฟาร์มแทนการล่า การทำฟาร์มจิ้งจอกขั้วโลกได้กลายเป็นเศรษฐกิจที่สำคัญ สำหรับประชาชนในเขตอาร์คติกที่ทำรายได้ปีละไม่น้อย
    ในการใช้ชีวิตในเขตขั้วโลก จิ้งจอกขั้วโลกจะมีขนอยู่บริเวณอุ้งเท้าเพื่อช่วยให้เดิน และวิ่งบนพื้นน้ำแข็งได้ในช่วงที่หิมะตกหนักหรือเกิดพายุ หมาจิ้งจอกขั้วโลกจะขุดโพรงลึกลงไปใต้หิมะ และขดตัวนอนโดยใช้หางของมันตวัดมาปิดตัวและหน้าไว้คล้ายคนห่มผ้าห่ม
    ในช่วงที่อากาศดี หมาจิ้งจอกจะออกมาอาหาร ตามปกติมันจะล่าสัตว์เล็ก ๆ เช่น เลมมิ่ง (Lemming) นก Ptarmigan บางครั้งถ้าโชค ก็จะเจอซากสัตว์ที่ถูกทิ้งไว้ ลาภปากเช่นว่านี้มีไม่บ่อยนัก


การสืบพันธุ์
    เมื่อฤดูหนาวหมดลง หิมะเริ่มละลาย ต้นไม้เริ่มผลิใบอ่อน จิ้งจอกขั้วโลกเองก็มีการเปลี่ยนแปลง ขนสีขาวของมันจะร่วงลง และมีขนสีเทาอมน้ำตาลขึ้นแทนและจะสั้นกว่าขนในฤดูหนาว ทำให้ตัวมันดูเล็กลง และมีขนาดเท่าแมวบ้านเท่านั้น
    ในฤดูใบไม้ผลินี้เองที่แม่จิ้งจอกจะให้กำเนิดลูก โดยครอกหนึ่งจะมีประมาณ 6 – 8 ตัว ลูกหมาจะเติบโตอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทันก่อนฤดูหนาวจะมาถึง ในช่วงเวลานี้พวกมันจะกินอาหารเป็นจำนวนมาก เพื่อเตรียมรับมือกับฤดูหนาวที่จะมาถึง จิ้งจอกขั้วโลกจะเก็บอาหารไว้สำหรับฤดูหนาว เช่น ฝังซากนก เลมมิ่ง ไว้ใต้หิมะ เก็บไข่ไว้ในโพรงหิน จิ้งจอกบางตัว เก็บนกเล็ก ๆ ไว้ถึง 27 ตัว และไข่อีก 40 ฟอง สำหรับฤดูหนาว
   ในขั้วโลกเหนือฤดูร้อนนั้นสั้นมาก และเมื่อฤดูหนาวกลับมา จิ้งจอกขั้วโลกก็จะเปลี่ยนสีขนกลับไปเป็นขนสีขาวอีกครั้ง เป็นการบอกให้รู้ว่า การต่อสู้กับความหนาวเย็นกำลังจะเริ่มต้นอีกครั้ง

จระเข้ยักษ์

จระเข้ยักษ์

     สวัสดีค่ะ วันนี้ดิฉันจะพาทุกคนไปดูสิ่งที่น่าสนใจกันค่ะ นั่นก็คือ จระเข้ยักษ์นั่นเอง หรือหลายคนอาจเคยเห็นกันดีอยู่เเล้ว ไปรู้จักพวกเขากันเลยค่ะ


ลักษณะของจระเข้ยักษ์

จระเข้ (อังกฤษCrocodileอีสาน: แข้) เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ ใช้ชื่อทางวิทยาศาสตร์ ชื่อทาง ว่า Crocodylidae อยู่ในอันดับจระเข้(Crocodilia)
มีลักษณะโดยรวมคือ ส่วนปลายของหัวแผ่กว้างหรือเรียวยาว ขากรรไกรยาวและกว้าง เมื่อหุบปากแล้วจะเห็นฟันซี่ที่ 4 ของขากรรไกรล่างเนื่องจากขอบปากบนตรงตำแหน่งนี้เป็นรอยหยักเว้า ส่วนปลายของขากรรไกรล่างข้างซ้ายและข้างขวาเชื่อมต่อกันเป็นพื้นที่แคบ กระดูกเอนโทพเทอรีกอยด์อยู่ชัดกับแถวของฟันที่กระดูกแมคซิลลา กระดูกพาลามีนมีก้านชิ้นสั้นอยู่ทางด้านหน้าและไม่ถึงช่องในเบ้าตา พื้นผิวด้านบนของลิ้นไม่มีสารเคอราติน ต่อมขจัดเกลือบนลิ้นมีขนาดใหญ่ มีก้อนเนื้อที่ปลายปากนูนสูงที่ช่องเปิดรูจมูกเรียกว่า "ขี้หมา" "ก้อนขี้หมา" หรือ "หัวขี้หมา" ซึ่งจะแตกต่างออกไปตามชนิดและเพศหรือขนาด โคนหางเป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่และแข็งแรงเรียกว่า "บ้องตัน" ใช้ในการฟาดเพื่อป้องกันตัว หางแบนยาวใช้โบกว่ายน้ำ
จระเข้ ถือเป็นสัตว์ที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร เนื่องจากเป็นสัตว์ผู้ล่ากินเนื้อขนาดใหญ่ ที่ไม่มีศัตรูตามธรรมชาติ ยกเว้นจระเข้ในวัยอ่อน ที่ตกเป็นอาหารของสัตว์ขนาดใหญ่กว่าชนิดต่าง ๆ ได้ จระเข้ตัวโตเต็มวัยจะมีพฤติกรรมกินอาหารแบบหมุนตัว กล่าวคือเมื่อจับเหยื่อที่มีขนาดใหญ่ขณะอยู่ใต้น้ำและต้องการกินเหยื่อจะใช้ปากงับไว้และหมุนตัวเองเพื่อฉีกเนื้อเหยื่อออกเป็นชิ้น ส่วนเหยื่อที่มีขนาดเล็กถูกบดให้แหลกด้วยลิ้นขนาดใหญ่โดยใช้ลิ้นดันเหยื่ออัดแน่นกับเพดานของอุ้งปาก นอกจากนี้แล้วจระเข้ยังกลืนก้อนกรวดหรือก้อนหินเข้าไปในกระเพาะเพื่อช่วยในการบดอาหารด้วย


ชนิดของจระเข้ยักษ์
แบ่งออกได้เป็น 3 สกุล 14 ชนิด พบได้ในเขตอบอุ่นและเขตร้อนของทุกทวีปทั่วโลก นับว่ามีจำนวนสมาชิกมากและหลากหลายที่สุดของอันดับจระเข้ที่ยังพบคงดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันนี้
มักอาศัยบริเวณป่าริมน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำ เพราะหากินในน้ำเป็นหลัก บางชนิดหรือบางพื้นที่อาจพบได้ในแหล่งน้ำกร่อยหรือป่าชายเลนหรือปากแม่น้ำใกล้ทะเล ในประเทศไทยพบ 3 ชนิด คือ จระเข้บึง หรือ จระเข้น้ำจืด (Crocodylus siamensis), อ้ายเคี่ยม หรือ จระเข้น้ำเค็ม (C. porosus) และ จระเข้ปากกระทุงเหว หรือ ตะโขง (Tomistoma schlegelii) ซึ่งมิได้ถูกจัดอยู่ในวงศ์นี้ 

ความสัมพันธ์
จระเข้ยุคปัจจุบันหรือเรียกตามภาษานักวิชาการว่าจระเข้ยุคใหม่นั้น โผล่หน้าขึ้นมาบนโลกเมื่อราว 90 ล้านปีก่อน เก่าแก่กว่ามนุษย์เมื่อ 2 ล้านปีที่ผ่านมานี้หลายเท่า จระเข้ยุคใหม่มีร่วมเผ่าพันธุ์อยู่ด้วยกัน 3 กลุ่ม ได้แก่ จระเข้ (น้ำจืด-น้ำเค็ม) อัลลิเกเตอร์ และตะโขง เริ่มที่ 248 ล้านปีก่อน ซึ่งเป็นยุคโบราณเทียบเท่ากับยุคไดโนเสาร์ ตรงกับช่วงต้น “มหายุคมีโซโซอิค (Mesozoic Era)” ซึ่งต้นตระกูลจระเข้ นั้นมีนามว่า “โปรเทอโรซูซุส (Proterosuchus)” จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับ จระเข้ แต่ก็ไม่อาจที่จะเรียกเป็นจระเข้ได้เต็มตัว เพราะตามตำราแล้วถือว่ามันเป็นสัตว์เลื้อยคลาน (Reptile) ที่คล้ายจระเข้ เท่านั้น พวกจระเข้เต็มร้อยเริ่มปรากฏเมื่อตอนช่วงกึ่งกลางมหายุคมีโซโซอิคหรือ “ยุคจูราสสิก” (206 ถึง 144 ล้านปีก่อน) จะดำรงชีวิตอยู่ร่วมยุคกับไดโนเสาร์ที่กำลังรุ่งเรืองนั้นเอง จระเข้ โบราณรุ่นแรกเริ่มนั้นก็ได้แก่ “เมทรี-โอรินซุส (Metriorhynchus)” ซึ่งดำรงชีพอยู่ใต้ น้ำ มีความยาวประมาณ 3 เมตร ปลายหางบานเหมือนหางปลา แต่ขึ้นมาวางไข่บนบก อีกตัวหนึ่งเป็น จระเข้ยักษ์ “ซาร์โค-ซูซุส (Sarcosuchus)” จัดว่าเป็นขนาดใหญ่ที่สุดของทุกยุค เพราะยาวตั้ง 12 เมตร มีน้ำหนัก 10 ตัน ช่วง “ยุคครี-เตเชียส (Cretaceous)” (144 ถึง 65 ล้านปีก่อน) อันถัดจากยุคจูราสสิก และเป็นยุคปลีกย่อยสุดท้ายแห่งมหายุคมีโซโซอิค นั่นก็เพราะต้นตระกูลจระเข้ รุ่นใหม่ทวีจำนวนเพิ่มพงศ์เผ่าขึ้นอย่างมากมายในยุคนี้ ตัวที่น่าสนใจที่สุดนั้นก็คือ จระเข้ยักษ์ “ไดโนซูซุส (Dienosuchus)” มันเป็นญาติสนิท ตัวหนึ่งของจระเข้รุ่นปัจจุบัน ซึ่งเคยอยู่ร่วมกับไดโนเสาร์เมื่อ 70 กว่าล้านปีก่อน ก็เป็นจระเข้ยักษ์ตัวหนึ่ง ที่ยาวเหยียด 10 ถึง 12 เมตร น้ำหนักตั้ง 9 ตัน จะมีขนาดเท่ากับ “จระเข้ยักษ์ ซาร์โคซูซุส” บรรพบุรุษของมัน สำหรับส่วนลักษณะภายนอกของ ไดโนซูซุสนั้นดูแล้วคล้ายจระเข้แม่น้ำไนล์ ซึ่งปกติชอบกินกุ้งหอยปูปลาเป็นพื้น และบางทีก็กินสัตว์ป่าที่ตัวใหญ่ด้วย เช่น ม้าลาย ในอดีต ด้วยเหตุที่ไดโนซูซุสมีขนาดเข้าขั้นจระเข้ยักษ์ มันจึงจู่โจมไดโนเสาร์ขนาดปานกลางที่มาใกล้ริมตลิ่งได้อย่างสบาย ๆ เช่น ไดโนเสาร์กินพืช “พาราซอโรลอฟอัส (Parasaurolophus)” ที่น้ำหนักเท่าช้าง (ราว 3 ตันครึ่ง) เทคนิคในการกินสัตว์ที่ขนาดใหญ่ คือ ลอยตัวเงียบกริบใต้ผิวน้ำตามลำน้ำหนองบึง หาเวลาเหมาะไดโนเสาร์ที่มาดื่มน้ำโดยไม่ระมัดระวัง มันก็กระโจนพุ่งตัวขึ้นงับติดแน่น แล้วลากไดโนเสาร์ลงน้ำ จนจมน้ำตายในที่สุด เชื่อกันว่าเจ้าไดโนซูซุส สามารถกระโจนได้ไกลเท่ากับความยาวของตัวมันเองเลยทีเดียว ดังนั้น แม้แต่ไดโนเสาร์ติดปีก “นิคโธซอรัส (Nyctosaurus)” ถ้าบินเฉียดผิวน้ำก็มีสิทธิ์โดนมันขย้ำลงไปงาบใต้น้ำได้ง่าย ๆ เช่นกัน ตอนปลายยุคมีโซโซอิค (65 ล้านปีก่อน) โลกที่โดนดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนเข้าปังใหญ่ แค่ไม่กี่เดือนกี่ปีถัดมา บรรดาสัตว์ และพืชพรรณก็มีอันสูญ พันธุ์ไปเกือบครึ่งโลก เป็นต้นว่า ไดโนเสาร์หายไปหมด แต่จระเข้ บางชนิดยังอยู่รอดและขยายพันธุ์ไปทั่วโลก ซึ่ง ได้แก่ จระเข้น้ำจืด จระเข้น้ำเค็ม ตะโขง และอัลลิเกเตอร์ (หรือเคย์แมน) มาจนถึงปัจจุบัน


การปรับตัว
จระเข้ จัดเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาสัตว์เลื้อยคลานทั้งหมด 4 กลุ่ม สืบสายพันธุ์ยาวนานมาตั้งแต่ยุคจูแรคสิคและครีเทเซียสจนถึงยุคปัจจุบัน มีความสามารถในการปรับสภาพร่างกายในการอยู่รอดจากภาวะที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากว่า 160 ล้านปี คงลักษณะโบราณทางด้านกายวิภาคเกือบทั้งหมดของร่างกาย ตั้งแต่ปลายจมูกจรดปลายหาง ไม่มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างให้แตกต่างไปจากบรรพบุรุษในยุคโบราณ จระเข้ส่วนใหญ่จะมีจมูกที่ยาวเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ มีขากรรไกรที่แข็งแรงรวมทั้งฟันที่แหลมคม ขนาดความยาวประมาณ 3 - 4 เมตร ลักษณะลำตัวใหญ่โตและดุร้าย ทำให้แลดูน่ากลัวและน่าเกรงขามต่อผู้พบเห็น ผิวหนังแข็งเป็นเกล็ดปกคลุมตลอดลำตัว ปากยาวและปลายปากนูนสูงขึ้นเป็นช่องเปิดของรูจมูก ออกลูกเป็นไข่ครั้งละประมาณ 20 - 28 ฟอง จัดอยู่ในประเภทสัตว์กินเนื้อทุกชนิดด้วย 

โคนม

โคนม

     สวัสดีค่ะ วันนี้ดิฉันจะพาทุกคนไปรู้จักกับโคนมกันค่ะ  หรือหลายคนอาจเคยเลี้ยง หรือรู้จักกันเป็นอย่างดีอยู่เเล้วค่ะ ไปรู้จักกับพวกเขากันเลยค่ะ


การเลี้ยงโคนม

      การเลี้ยงโคนมเป็นการเลี้ยงเพื่อการผลิตน้ำนม ดังนั้นโคนมจึงมักมีลักษณะลำตัวเป็นรูปสามเหลี่ยม ปั้นท้ายใหญ่ ฐานนมกว้าง ไม่นิยมเลี้ยงเพศผู้เนื่องจากมีปริมาณการผสมเที่ยมของรัฐปัจจุบันกรมปศุสัตว์ส่งเสริมโคนมพันธุ์ โฮสไตน์ฟรีเซี่ยน (พันธุขาว-ดำ) ซึ่งมีลักษณะเด่นที่ต้องสังเกตว่าเป็นแม่ที่ดีหรือไม่
          
1. ส่วนหัว หัว คอ ไหล่
         หัวได้สัดส่วนกับร่างกาย จมูำกและรูจมูกใหญ่ หน้าผากกว้างเป็นแอ่งเล็กน้อย หู ขนาดปานกลาง คอบางยาวเรียว ไหล่แข็งแรงไม่กางแบะออก

2. หลังและบั้นท้าย
           สันหลังและบั้นท้ายแข็งแรง ช่วงไหล่ถึงสะโพกเป็นแนวตรง กระดูกสันหลังเด่นชัด สะโพกก้นกบและโคนหางอยู่ในระดับเดียวกับแนวสันหลังบั้นท้ายกว้างปุ่มเชิงกราน ปุ่มก้นกบและปุ่มสะโพกมีเนื้อเรียบเต็ม

3. ขาและกีบ

            ขาหน้าตรงตั้งฉากกับพื้นและขนานกับขาหลังเมื่อมองจากด้านท้ายจะตั้งตรงโคนขาหลังกว้าง เข่าไม่งอเข้าหากัน ขาหลังเมื่อมองทางด้านข้างข้อเกือบตั้งฉาก กีบเท้าชี้ไปข้างหน้า สั้นกลม วางได้ระดับกับพื้น กับเอียงเล็กน้อยและแข็งแรง

4. ลำตัว ลำตัวนับจากไหล่ถึงก้นกบต้องยาว

5. ช่องท้อง ช่วงท้องยาวและลึก มีซี่โครงป้องกันแข็งแรง

6. รอบอก 
 รอบอกใหญ่และลึก ซี่โครงตอนหน้าอกกว้าง คอไหล่และสบักเต็มช่วงอกกว้าง

7. เต้านม เต้านมยาวพอสมควร มีความกว้า่งสม่ำเสมอตั้งแต่ช่วงหน้าถึงหลัง ส่วนหน้าเกาะยึดติดกับพื้นท้อง มีเส้นเลือดขดนูนเด่นชัด เต้านมขนาดเท่ากัน ขนาดปานกลาง อยู่สูงกว่าระดับข้อเข่า มีรอยแบ่งชัดเจน มีความยืดหยุ่นมาก จะยุบแฟบเวลารีดนมออกหมดแล้ว

8. หัวนม
              หัวนมมีขนาดเท่ากัน ยาวและอวบปานกลาง รูปกลมยาวสม่ำเสมอหัวนมตั้งเป็นมุมจตุรัสและห่างกันพอสมควร



การคัดแม่โคนม

              ควรดูจากประวัติการผสมพันธุ การให้ลูก การสืบทอดพันธุกรรมที่ดีจากแม่ ไม่เป็นโรคเต้านมอักเสบเรื้อรัง หรือหัวนมบอด

การผสมพันธุ์
              1. โค ควรมีอายุ 2 ปีขึ้นไป และแสดงอาการเป็นสัดครั้งที่ 2
              2. ระยะการเป็นสัดประมาณ 4 ชั่วโมง ถ้าต้องการผสมเทียม ควรผสมเมื่อสังเกตการณ์
              3. เป็นสัดในเวลาชั่วโมงที่ 12 - 18 ถ้าโคไม่ได้รับการผสมพันธุ์ จะกลับเป็นสัดภายใน 18 - 21 วัีนและหลังคลอดลูกแล้ว ควรผสมพันธุ์เมื่อคลอดได้ 60 - 90 วัน
              4. โคจะตั้งท้องนานประมาณ 285 วัน 

อาการเป็นสัดในโค
              
เพศเมียจะร้องบ่อย ๆ ตาเบิกกว้างไม่ค่อยกินหญ้าและอาหาร กระโดดขี่เพื่อน ๆ หรือลูกตัวเอง ยืนนิ่งให้ตัวอื่นขี่ดมอวัยวะเพศและให้ต้วอื่นขี่ อวัยวะเพศจะบวมแดงมีน้ำเมือกใสไหลออกมา ถ้าสังเกตเห็นอาการตอนเช้า ๆ ควรได้ผสมในตอนบ่ายวันนั้นถ้าเป็นตอนเย็นควรได้ผสมก่อนเที่ยงวันรุ่งขึ้น

การดูแลแม่โคนม
              1. หยุดรีดนมเมื่อแม่โคนมตั้งท้องได้ 10 เดือนแยกแม่โคท้องแก่ออกจากฝูง เพื่อให้แม่โคผ่อนคลายไม่ถูกรบกวน
              2. อาการใกล้คลอด ได้แก่ นมคัดเต้า อวัยวะเพศบวมโต ลุกและนอนบ่อยมองท้องตัวเองยกหางและปัสสาวะบ่อย
              3. ปูฟางข้าวหรือหญ้าแห้งเืพื่อให้ลูกโครองนอน
              4. สังเกตถุงน้ำคล่ำ เมื่อแตกแล้ว ลูกโคต้องคลอดออกมาภายใน 15 นาที หากผิดปกติรีบแก้ไข
              5. รีดนมน้ำเหลืองให้ลูกโคกิน หลังจากลูกโคแห้งแล้ว นมที่รีดได้ 7 วันแรกควรให้ลูกโคกินให้หมด ไม่เหมาะสำหรับส่งขาย
              6. ให้อาหารข้นตามปริมาณน้ำนมที่ได้ คือ น้ำนม 2 กก. จะให้อาหารข้น 1 กก. 



การดูแลลูกโคนม

              1. โคนมแรกเกิด ต้องได้กินนมน้ำเหลืองทันที ภายใน 2 ชั่วโมง และให้กินติดต่อกัน 7 วัน หลังจากนั้นให้น้ำนมธรรมดา
              2. อายุ 2 อาทิตย์ เริ่มฝึกให้ลูกโคกินอาหารข้นไปพร้อมกับน้ำนมสด
              3. อายุ 3 อาทิตย์เริ่มฝึกให้ลูกโคกินหญ้า ถ่ายพญาธิ ทำลายปุ่มเขา
              4. อายุ 6 เดือนหย่านมและฉีดวัคซีนป้องกันโรค

แหล่งอาหารโค

              1. อาหารหลักคุณภาพสูง เป็นอาหารที่สัตว์กินแล้วย่อยได้มาก เช่น หญ้าสดทุกชนิด เศษพืชที่ยังสดอยู่ รำข้าว เศษมันสำปะหลัง กากน้ำตาลเป็นต้น หากสัตว์กินมากเกินไป อาจท้องเสียแต่ไม่อันตราย
              2. อาหารหลักคุณภาพต่ำ เป็นอาหารที่สัตว์กินแล้วย่อยได้น้อย มีกากเหลือทางอุจจาระมาก เช่น ฟางข้าว ซังข้าวโพด ชานอ้อยแ่ละเศษพืชแห้งทุกชนิด สัตว์จะโตช้าผลผลิตน้อยลงน้ำหนักลด 

อาหารสร้างเนื้อ
              1. ใบถั่วอาหารสัตว์ เช่น ถั่วฮามาต้า ถั่วลาย ถั่วลิสง ใบกระถิน แคไทย แคฝรั่ง ใบถั่วอื่น ๆ ควรระวังเวลานำไปเลี้ยง ถ้าใบถั่วยังสด่และอ่อนอยู่ สัตว์ทอ้งอืดง่ายต้องกินพร้อมกับฟางหรือหญ้าหรือผึ่งให้ใบถั่วเหี่ยวก่อน
              2. ใบพืชอาหารสัตว์โปรตีนสูง เช่นใบมันสำปะหลัง ใบทองหลาง ใบมะขามเทศ ใบประดู่ ขนุน มะม่วง ใบตอง เป็นต้น สำหรับใบมันสำปะหลังสดจะเป็นพิษ ก่อนสัตว์กินควรนำไปตากให้แห้งก่อน
              3. อาหารข้นโปรตีนสูง เช่น รำข้าว กากมะพร้าว กากถั่วเหลือง กากเมล็ดนุ่น กากน้ำมันอื่น ๆ ปลาป่น ขนไก่ป่น ปกติไม่ต้องใช้ถ้าหากไม่จำเป็นใช้จำนวนน้อย เช่น ให้ลูกโค
              4. อาหารเสริมโปรตีนราคาถูก เช่น ปุ๋ยยูเรีย และสารเคมีบางชนิด เป็นสารที่ช่วยให้จุลินทรีย์ในกระเพาะอาหารสัตว์สร้างโปรตีน ต้องใช้ความระมัดระวังเพราะเป็นพิษต่อสัตว์ได้


เกลือแร่และวิตตามิน

              เนื่องจากโคเป็นสัตว์ที่มีโครงร่างใหญ่ บางชนิดให้ผลผลิต เช่น นม จำเป็นต้องนำแร่ธาตุแ่ละวิตามินในร่างกายมาใช้มาก ถ้าแร่ธาตุและวิตามินในร่างกายไม่สมดุลสัตว์อาจจะป่วยแ่ละหยุดเติบโต อาจใช้แร่ธาตุก้อนและนำตั้งให้สัตว์กินตลอดเวลา 

พืชอาหารสัตว์

             1. หญ้ารูซี่ ปลูกได้ในที่แห้งแล้ง ไม่ชอบที่น้ำท่วมขัง มีโปรตีน 8 - 9 % เหมาะสำหรับตัดให้กินหรือปล่อยแทะเล็ม ปลูกด้วยการใช้เมล็ด แยกกอ         
             2. หญ้ากินนี ปลูกได้ในที่ร่มเป็นหญ้าที่ต้องการน้ำมาก แต่ไม่ชอบที่ลุ่มโปรตีน 9 - 10 % เหมาะสำหรับตัดให้กิน ปลูกด้วยการใช้เมล็ดแยกกอ
             3. หญ้าเนเปีย ปลูกได้ในที่ซื้นแฉะ ชอบน้ำมาก มีโปรตีน 8 - 10 % เหมาะสำหรับตัดให้กิน ปลูกด้วยการใช้่ท่อนพันธุ์
             4. หญ้าขน ปลูกในที่ลุ่มหรือท้องนาที่สามารถระบายน้ำได ้มีโปรตีน 9 - 10 % เหมาะสำหรับตัดให้กิน ปลูกด้วยการใช้ท่อนพันธุ์
             5. ถั่วฮามาต้า ปลูกได้ในที่แห้งแล้งดินลูกรัง หรือปลูกผสมแปลงหญ้า เพื่อเพิ่มโปรตีน มีโปรตีน 16 - 18 % ปลูกด้วยการใช้เมล็ด
             6. ถั่วคาวาลเคต ปลูกได้ในที่ดินทรายและดินเหนียวมีโปรตีน 14 - 18 % เหมาะาสำหรับทำฟ่อนแห้ง ปลูกด้วยการใช้เมล็ด

การทำฟางปรุงแต่ง 
             1. นำผ้าพลาสติกปูพื้นเพื่อกันน้ำ
             2. นำฟางแห้งจำนวน 100 กก. วางแผ่บนผ้าพลาสติก
             3. ใช้ปุ๋ยยูเรียสูตร 46 - 0 - 0 จำนวน 6 กก. มาผสมน้ำ 100 ลิตร รดบนฟางแห้งให้ทั่ว
             4. ทำชั้นต่อไปจำนวน 5 ชั้น 
             5. นำผ้าพลาสติกมาคลุมกองฟางให้มิดหมักไว้ 21 วัน 
             6. ก่อนนำไปให้โคกินต้องผึ่งลม 1 ชั่วโมง เพื่อให้แอมโมเนียละเหยไปเสียก่อน  

การทำหญ้าหมัก
             1. นำต้นหญ้าที่มีลักษณะอวบน้ำ เช่น หญ้าเนเปีย ต้นข้าวโพด ต้นข้าวฟ่าง มาสับขนาด 2 - 3 นิ้ว
             2. นำมาอัดในถุงพลาสติกแล้วเหยียบไล่อากาศออกให้หมด มัดปากถุงให้แน่น
             3. นำไปเก็บในที่ร่มหมัก 21 วัน ก็ใช้ได้แล้วหรือเก็บไว้กินในฤดูแล้ง

ที่มา: โคนม

วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

นกขุนเเผนเเสนเสน่ห์




นกขุนเเผนเเสนเสน่ห์

      สวัสดีค่ะ วันนี้ดิฉันจะพาทุกคนไปสัมผัสกับธรรมชาติที่เเสนสวยกันค่ะ ซึ่งมีนกหลายชนิดอาศัยอยู่ นั่นก็คือนกขุนแผน เราไปรู้จักกับพวกเขากันเลยค่ะ


นกขุนเเผน

นกขุนแผน หรือ นกสาลิกาดง (อังกฤษ: Red-billed blue magpie; ชื่อวิทยาศาสตร์Urocissa erythrorhyncha) จัดเป็นนกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ Corvidae อันเป็นวงศ์เดียวกับกา
นกขุนแผนเป็นนกที่มีสีสันสวยงามมาก กล่าวคือ โดยมีบริเวณหัวถึงลำคอสีดำ ขนบริเวณลำตัวมีสีฟ้าแกมม่วง ส่วนโคนปีกมีสีฟ้าแกมม่วง ด้านปลายปีกสีขาว มีหางสวยงามและยาวมาก มีสีฟ้าแกมม่วงส่วนบริเวณปลายหางมีสีขาว มีขนหางคู่บนยาวกว่าคู่อื่น ๆ ปากสีแดง ขาสีแดงส้มและตาสีดำ ทั้งตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันมาก จนยากที่จะแยกได้ออกจากการมองแค่ภายนอก
ความยาวจากปลายปากถึงปลายหางประมาณ 65-68 เซนติเมตร และมีขนหางยาวมากราว 37-42 เซนติเมตร หรือ 2 ใน 3 ของความยาวจากปากถึงปลายหาง ขนหางค่อนข้างแข็ง มี 12 เส้น ซึ่งแต่ละคู่ยาวลดหลั่นกันลงไป โดยมีขนหางคู่บนสุดยาวที่สุด ซึ่งยาวกว่าขนหางคู่ที่ 5 อย่างเห็นได้ชัด ปลายขนหางแต่ละเส้นมีลักษณะมน ขนหางทุกเส้นมีสีฟ้าอมม่วง แต่ปลายขนหางแต่ละเส้นเป็นแถบสีขาว และเฉพาะปลายขนหางคู่ที่ 1 ถึงคู่ที่ 5 มีแถบสีดำถัดจากแถบสีขาวด้วย ปลายขนหางคู่ที่ 6 ซึ่งเป็นคู่บนสุดโค้งลงมาเล็กน้อย
พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่เชิงเขาหิมาลัยจนถึงจีนพม่า และภูมิภาคอินโดจีน ในประเทศไทยพบเกือบทุกภาคยกเว้นภาคใต้
มีพฤติกรรมชอบอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็กๆ ตามป่าละเมาะ, ป่าโปร่ง มักส่งเสียงร้องขณะที่มันเริ่มออกหากิน บางเวลาอาจลงมาหากินตามพื้นดินหรือซอกก้อนหิน ซอกไม้ผุ ๆ อาหารได้แก่ แมลงชนิดต่าง ๆ เช่น ด้วงปลวกหนอนหอยทากกิ้งก่าจิ้งจกจิ้งเหลนงู รวมทั้งปาดตะขาบ และหนู แม้แต่ไข่นกและลูกนกชนิดอื่นในรัง รวมทั้งซากสัตว์ด้วย
ฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงประมาณเดือนมีนาคม-พฤษภาคม จะทำรังโดยนำกิ่งไม้เล็กมาขัดสานกันเป็นแอ่งตรงกลาง และรองพื้นด้วยรากไม้หรือใบไม้ที่พอจะหาได้ในบริเวณนั้น ตัวเมียจะวางไข่ครั้งละ 3-6 ฟอง อยู่สูงจากพื้น 6-8 เมตร มีสถานะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 แต่ก็นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงเพราะสีสันและหางที่สวยงาม


ลักษณะ

“นกขุนแผน”หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “นกสาลิกาดง”นก ชนิดนี้เป็นนกที่ฉลาดแสนรู้และยังมีความสวยงามอีกด้วย ลักษณะตัวของมันนั้นขนลำตัว,โคนปีกและหางนั้นมันจะมีสีฟ้าแกมม่วงเหมือนๆกัน แต่บริเวณหัวจะมีสีดำจนถึงบริเวณลำคอ ปลายปีกจะมีสีขาว และเจ้านกขุนแผนนั้นมันจะมีหางที่ยาวกว่าตัว และปากและขาของมันจะเป็นสีแดง ปากมันจะหนา,ยาวคล้ายๆกับพวกนกกา เจ้านกขุนแผนตัวเมียกับตัวผู้นั้นมันจะมีลักษณะคล้ายๆกัน เรามองเผินๆเราจะแยกพวกมันไม่ออกเลยว่า ซึ่งต่างจากนกชนิดอื่นๆ พวกมันเป็นสัตว์ที่ชอบอยู่กันเป็นฝูง มันเป็นสัตว์สังคม เราจะพบพวกมันได้ตามป่าเต็งรัง,ป่าสนเขา,ป่าดิบแล้ง และพวกมันจะชอบหากินอยู่ตามแนวชายป่า มักจะพบพวกมันหากินกันเป็นคู่หรือบางทีก็จะอยู่เป็นฝูงเล็กๆพวกมันจะหากินกันไม่ว่าจะบนต้นไม้หรือจะเป็นพื้นล่าง อาหารของเจ้านกขุนแผนนั้นพวกมันจะกิน ตะขาบ,แมลง,หอยทากไม่เว้นแม้กระทั่ง ไข่และลูกนกอีกด้วย และพวกมันยังชอบกินผลไม้สุกที่หล่นมาจากต้นอีกด้วย นกขุนแผนนั้นพวกมันชอบทำรังบนยอดต้นไม้ หรือปลายๆกิ่งของต้นไม้ขนาดเล็ก รังของมันนั้นจะทำด้วยรากไม้และเถาไม้ ในฤดูผสมพันธุ์จะอยู่ช่วงฤดูร้อนจนไปถึงช่วงฤดูหนาว พวกมันจะวางไข่ราวๆ 3-5 ฟอง และไข่ของมันจะมีสีขาวนวล บางทีอาจจะมีสีน้ำตาลอมเหลือง และจะมีลายสีน้ำตาลแดง พ่อนกกับแม่นกจะช่วยกันเลี้ยงลูกอ่อน และแม่นกจะเป็นฝ่ายที่ทำหน้าที่กกไข่ และเมื่อลูกนกฟักออกจากไข่มา จนอายุได้ประมาณ 1 เดือน มันจะสามารถบินได้แล้วมันก็จากรังนั้นไป และเจ้านกขุนแผนนั้นมันยังจัดว่าเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองอีกด้วย



ลักษณะ

ช้าง

ช้าง

        สวัสดีค่ะ วันนี้ดิฉันจะพาไปทุกคนไปรู้จักกับช้างกันค่ะ  พวกเขาจะอาศัยอยู่อย่างไร 
ใช้ชีวิตในป่าอย่างไร ไปรู้จักพวกเขากันเลยค่ะ



ประวัติ

   "ช้าง" เปลี่ยนทางมาที่นี่ บทความนี้เกี่ยวกับสัตว์ สำหรับความหมายอื่น ดูที่
 ช้าง (แก้ความกำกวม)
ช้างนับเป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน ใช้เวลาการตั้งครรภ์ถึง 22 เดือน ซึ่งนับว่านานที่สุดในบรรดาสัตว์บกทุกชนิด ช้างแรกเกิดมีน้ำหนักเฉลี่ย 120 กิโลกรัม มีอายุขัยอยู่ระหว่าง 50 ถึง 70 ปี แต่ช้างอายุมากที่สุดที่เคยบันทึกไว้มีอายุถึง 109 ปี ช้างขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยบันทึกไว้อาศัยอยู่ในแองโกลาในปี ค.ศ. 1956 ซึ่งมีน้ำหนักถึง 11,000 กิโลกรัม ความสูงวัดถึงไหล่ 3 เมตร สูงกว่าช้างแอฟริกาเพศผู้ทั่วไปถึงหนึ่งเมตร ส่วนช้างที่มีขนาดเล็กที่สุดนั้น มีขนาดประมาณเท่ากับลูกวัวหรือหมูตัวใหญ่ ๆ เป็นสปีชีส์ก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งเคยอาศัยอยู่บนดาวอังคารเกาะครีตระหว่างสมัยไพลสโตซีน จากการสังเกตการณ์ ช้างเพศผู้ที่มีสุขภาพดีนั้นไม่มีนักล่าตามธรรมชาติ ถึงแม้ว่าสิงโตจะล่าลูกช้างหรือช้างที่อ่อนแอบ้าง อย่างไรก็ตาม ช้างถูกคุกคามโดยการบุกรุกที่อยู่อาศัยของมนุษย์และการล่า
ช้างเป็นสัญลักษณ์ของปัญญาในวัฒนธรรมเอเชียและมีกิตติศัพท์ว่ามีความจำและความฉลาดที่ดี โดยระดับสติปัญญาของมันนั้นคาดกันว่าจะเท่ากับของโลมา หรือไพรเมต เลยทีเดียว อริสโตเติล เคยกล่าวไว้ว่า ช้างเป็น "สัตว์ซึ่งเหนือกว่าสัตว์ทั้งปวงทั้งในด้านไหวพริบและจิตใจ"

วิวัฒนาการ
สกุลช้างแอฟริกาประกอบด้วยช้างสอง หรืออาจแย้งได้ว่า สามชนิดที่ยังคงมีชีวิตอยู่ ขณะที่สปีชีส์ช้างเอเชียเป็นชนิดเดียวที่ยังคงมีชีวิตอยู่ในสกุลช้างเอเชีย แต่สามารถแบ่งออกได้เป็นสี่สปีชีส์ย่อยช้างแอฟริกาและช้างเอเชียวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษร่วมกันเมื่อราว 7.6 ล้านปีก่อน


ลักษณะช้าง

ช้างในสกุล Loxodonta ที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่าช้างแอฟริกานั้น ปัจจุบันพบอยู่ใน 37 ประเทศในทวีปแอฟริกา
ช้างแอฟริกามีความแตกต่างจากช้างเอเชียหลายประการ ที่สังเกตเห็นได้ชัดเจนที่สุดคือหูที่มีขนาดใหญ่กว่าช้างเอเชียมาก นอกจากนี้ ช้างแอฟริกายังมีขนาดใหญ่กว่าช้างเอเชียอย่างเห็นได้ชัดและมีหลังเว้า ในช้างเอเชีย มีเพียงเพศผู้เท่านั้นที่มีงา แต่ช้างแอฟริกาทั้งเพศผู้และเพศเมียล้วนมีงาและมักจะมีขนน้อยกว่าช้างเอเชีย
ช้างแอฟริกาเดิมเคยถูกจัดเป็นสปีชีส์เดียวซึ่งประกอบด้วยสองสปีชีส์ย่อย ชื่อว่า ช้างสะวันนา (Loxodonta africana africana) และช้างป่า (Loxodonta africana cyclotis) แต่การวิเคราะห์ดีเอ็นเอล่าสุดเสนอแนะว่าทั้งสองนี้อาจเป็นคนละสปีชีส์กัน การแบ่งนี้ไม่ได้รับการยอมรับเป็นสากลโดยผู้เชี่ยวชาญนอกจากนี้ยังมีการเสนอช้างแอฟริกาสปีชีส์ที่สามอยู่
ผู้แต่งการวิเคราะห์ดีเอ็นเอนิวเคลียสที่สกัดมาจาก "ช้างสะวันนาแอฟริกา ช้างป่าแอฟริกา ช้างเอเชีย มาสโตดอนอเมริกาซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้ว และแมมมอททุนดรา" ได้มีข้อสรุปในปี ค.ศ. 2010 ว่าช้างสะวันนาแอฟริกาและช้างป่าแอฟริกานั้น แท้จริงแล้วเป็นคนละสปีชีส์กัน โดยระบุว่าเราได้พิสูจน์อย่างไม่ต้องสงสัยเลยว่าช้างเอเชียเป็นสปีชีส์พี่น้องของแมมมอททุนดรา การค้นพบอันน่าประหลาดใจจากการศึกษาของเรานั้นคือการวิวัฒนาการแยกออกจากกันของช้างสะวันนาและช้างป่าแอฟริกา ซึ่งบางคนเห็นว่าเป็นประชากรสองกลุ่มในสปีชีส์เดียวกัน นั้นเกิดขึ้นในอดีตนานพอ ๆ กับที่ช้างเอเชียวิวัฒนาการแยกออกจากแมมมอท และด้วยการวิวัฒนาการแยกออกจากกันแต่โบราณนี้เอง เราจึงสรุปว่าช้างสะวันนาและช้างป่าแอฟริกาควรจะถูกจัดเป็นคนละสปีชีส์กัน
ช้างป่าและช้างสะวันนาสามารถเกิดลูกผสมขึ้นได้ แต่เนื่องจากช้างทั้งสองชอบอาศัยอยู่ในภูมิประเทศที่แตกต่างกันจึงลดโอกาสที่จะผสมข้ามสปีชีส์ เนื่องจากช้างแอฟริกาเพิ่งจะได้รับการยอมรับว่าประกอบด้วยสองสปีชีส์ที่แตกต่างกัน กลุ่มของช้างที่ถูกจับยังไม่ได้รับการจัดประเภทอย่างทั่วถึงและบางเชือกอาจเป็นลูกผสมก็เป็นได้
ภายใต้การจำแนกสองสปีชีส์ใหม่นี้ Loxodonta africana หมายความถึงแต่ช้างสะวันนา ซึ่งเป็นช้างที่มีขนาดใหญ่ที่สุด โดยเป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เพศผู้มีความสูงระหว่าง 2.2 ถึง 8.7 เมตรเมื่อวัดจากพื้นถึงไหล่ และหนัก 2,700 กิโลกรัม โดยตัวที่หนักที่สุดนั้นมีบันทึกไว้ที่ 9,000 กิโลกรัม เพศเมียตัวเล็กกว่า สูงจากพื้นถึงไหล่วัดได้ 3 เมตร ช้างสะวันนามักจะพบได้ในทุ่งหญ้าเปิด บึงและริมทะเลสาบ มีถิ่นที่อยู่อาศัยครอบคลุมเขตซะวันนาแถบตอนใต้ของทะเลทรายสะฮารา

ความเป็นอยู่

ตรงกันข้ามกับประชากรช้างในแอฟริกาตะวันตกที่มักมีขนาดเล็กและอยู่กันอย่างกระจัดกระจาย และคิดเป็นสัดส่วนน้อยต่อประชากรช้างทั้งหมดประชากรช้างในตอนกลางของแอฟริกานั้นยังไม่แน่ชัด ขณะที่ความหนาแน่นของป่าทำให้การสำรวจประชากรเป็นไปได้อย่างยากลำบาก แต่เชื่อว่าการบุกรุกเข้าไปล่าเอางาและเนื้อจะเกิดขึ้นบ่อยครั้งในภูมิภาคนี้ ประชากรช้างในแอฟริกาใต้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมาก โดยเพิ่มขึ้นจาก 8,000 เป็น 20,000 ตัวในรอบสิบสามปี หลังจากการห้ามค้างาช้างในปี ค.ศ. 1995ส่วนช้างอีกสปีชีส์หนึ่งนั้น คือ ช้างป่า (Loxodonta cyclotis) มักจะมีขนาดเล็กกว่าและกลมกว่า งาของมันจะบางกว่าและตรงกว่าเมื่อเทียบกับช้างสะวันนา ช้างป่าสามารถหนักได้ถึง 3,500 กิโลกรัม และสูงราว 2.5 เมตร ช้างชนิดนี้เป็นที่รู้จักกันน้อยกว่าช้างสะวันนามาก เนื่องจากอุปสรรคทางธรรมชาติและทางการเมืองทำให้การศึกษาพวกมันเป็นไปได้ยาก โดยปกติแล้ว พวกมันจะอาศัยอยู่ในป่าฝนแอฟริกาที่หนาทึบที่อยู่ทางตอนกลางและทางตะวันตกของทวีปแอฟริกา แม้ว่าในบางครั้งอาจพบพวกมันอยู่ตามชายป่าอยู่บ้าง และอาจทับซ้อนกับถิ่นที่อยู่และถิ่นผสมพันธุ์ของช้างสะวันนา ในปี ค.ศ. 1979 เอียน ดัคลาส-ฮามิลตัน ประเมินประชากรช้างแอฟริกาไว้ที่ 1.3 ล้านตัว การประเมินตัวเลขดังกล่าวเป็นที่โต้เถียงกันและเชื่อว่าเป็นตัวเลขที่สูงกว่าความเป็นจริงแต่ตัวเลขดังกล่าวมักจะได้รับการอ้างอิงอย่างกว้างขวางและได้กลายมาเป็นเส้นฐานโดยพฤตินัยซึ่งมักใช้อย่างผิด ๆ ในการบอกจำนวนของประชากรช้างที่ลดจำนวนลง ตลอดช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 Loxodonta ได้รับความสนใจจากทั่วโลกเนื่องจากการลดจำนวนของประชากรกลุ่มใหญ่ในแอฟริกาตะวันออก ซึ่งส่วนใหญ่นั้นเป็นผลมาจากการล่าสัตว์ ตาม "รายงานสถานะช้างแอฟริกา พ.ศ. 2550" โดยสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) นั้น พบช้างแอฟริกาอาศัยอยู่ในธรรมชาติระหว่าง 470,000 และ 690,000 ตัว ถึงแม้ว่าการประเมินดังกล่าวจะครอบคลุมเพียงครึ่งหนึ่งของถิ่นที่อยู่อาศัยของช้างทั้งหมด แต่ผู้เชี่ยวชาญก็ไม่เชื่อว่าจำนวนที่แท้จริงจะสูงไปกว่านี้ เนื่องจากไม่คาดว่าประชากรกลุ่มใหญ่จะถูกค้นพบอีกในอนาคต จนถึงขณะนี้ ประชากรช้างกลุ่มใหญ่ที่สุดพบได้ทางใต้และตะวันออกของทวีปแอฟริกา ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของช้างทั้งหมด จากการวิเคราะห์ล่าสุดโดยผู้เชี่ยวชาญของ IUCN นั้น ประชากรกลุ่มใหญ่จำนวนมากทางตะวันออกและใต้ของแอฟริกานั้นเสถียรหรือเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่กลางคริสต์ทศวรรษ 1990 ด้วยอัตราเฉลี่ย 4.5% ต่อปี

ที่มา: ช้าง